KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

พัฒนาการของการจัดการความรู้ของ วศ.

 ความเป็นมา

        พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๑๑ กำหนดให้ภาคส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ...”

        เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว วศ.  จึงได้จัดให้มี  “การจัดการความรู้” (Knowledge Management - KM)  ในองค์กร ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน   กำหนดตัวชี้วัด วศ. ตามคำรับรองการปฏิบ้ติราชการ โดยจัดทำแผนการจัดการความรู้ประจำปี ประจำปี ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ – ๒๕๕๔ รายละเอียดดังนี้

 

ปีงบประมาณ

ตัวชี้วัด

รายการ

๒๕๕๔

ตัวชี้วัดที่ ๑๒ มิติที่ ๔ ด้านการพัฒนาองค์กร

ระดับความสำเร็จของพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)

๒๕๕๓

ตัวชี้วัดที่ ๑๕ มิติที่ ๔ ด้านการพัฒนาองค์กร

ระดับความสำเร็จของพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)

๒๕๕๒

ตัวชี้วัดที่ ๑๔ มิติที่ ๔ ด้านการพัฒนาองค์กร

ระดับความสำเร็จของพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)

๒๕๕๐-๒๕๕๑

ตัวชี้วัดที่ ๑๒ มิติที่ ๔ ด้านการพัฒนาองค์กร

ระดับความสำเร็จของแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์

๒๕๔๙

ตัวชี้วัดที่ ๑๓ มิติที่ ๔ ด้านการพัฒนาองค์กร

ระดับความสำเร็จของแผนการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์

๒๕๔๘

ตัวชี้วัดที่ ๒๑ มิติที่ ๔ ด้านการบริหารความรู้ในองค์กร

ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการในการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กร

 

        ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๖ KM ไม่ได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดหลัก เป็นเพียงส่วนหนึ่งของของตัวชี้วัดที่ ๑๐ มิติภายใน ด้านการพัฒนาองค์กร การพัฒนาปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร

 เป้าหมาย KM ของ ก.พ.ร.

        เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์กร ให้สามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้หน่วยงาน มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

วัตถุประสงค์ / KM วศ.

  1. เพื่อพัฒนาบุคลากร วศ. ให้มีวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ใฝ่รู้  สะสมความรู้  สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best practice)

  2. พัฒนาความรู้ความสามารถ ปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากร วศ. ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ สามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสมกับสถานการณ์

โครงสร้างการบริหารงาน KMวศ.

  1. อวศ. เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการความรู้ วศ. / ประธานคณะกรรมการ KM วศ.   

  2. รอง อวศ.ที่ได้รับมอบหมาย เป็น ผู้บริหารด้านการจัดการความรู้ วศ. (Chief  Knowledge  Officer :CKO) / ประธานคณะอนุกรรมการ KM วศ.

  3. คณะกรรมการ KM วศ. ประกอบด้วย อวศ. ผอ.สำนัก/โครงการ ผชช. เป็นคณะกรรมการ ทีมเลขาฯ

  4. คณะอนุกรรรมการ KMวศ. ประกอบด้วย CKO  ผู้แทนจากทุกสำนัก/โครงการ เป็นอนุกรรมการ

  5. คณะทำงานระดับสำนัก/โครงการ ประกอบด้วย ผอ. และบุคลากรที่ได้รับมอบหมายของหน่วยงาน

 

 การดำเนินงาน KM วศ.

ลำดับที่

ขั้นตอนการดำเนินงาน

ประกาศนโยบาย KM ประจำปี โดยปี ๒๕๔๙ - ๒๕๕๖ 

อวศ. แต่งตั้ง ทีม KM ประกอบด้วย CKO คณะกรรมการ คณะ อนุกรรมการ KM  วศ.

ผอ.สำนัก/โครงการแต่งตั้งคณะทำงาน KM ของหน่วยงาน

ระยะเริ่มต้นปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙ทีม KM โดยวิเคราะห์องค์กร สิ่งที่ต้องดำเนินการ/สิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง ตามแบบฟอร์ม  ๑๑ แบบ ของ กพร. จัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง (Gap Analysis)  ส่ง กพร.

ระยะที่ ๒ ปี ๒๕๔๙-๒๕๕๔  ทีม KM จัดทำแผนผลักดัน KM (แผนดำเนินกิจกรรม)และ ทีม KM แผนการจัดการความรู้ วศ. ประจำปี (KM Action Plan)โดยคัดเลือกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติราชการตามประเด็นยุทธศาสตร์ วศ. มาจัดทำแผนฯ ตามแบบและวิธีการที่ กพร. กำหนด

ทีม KM วศ. กำหนดกิจกรรม KM และการวัดผลตามตัวชี้วัด  (KPI) ประกอบด้วย กิจกรรม ๗ ขั้นตอน ๑. การบ่งชี้ความรู้ ๒. การสร้าง/แสวงหา  และพัฒนาความรู้  ๓. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ ๔. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ ๕. การเข้าถึงความรู้ ๖. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ๗. การเรียนรู้

จัดทำกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กร (CMP)   ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน ของ วศ.

สื่อสาร KM แก่บุคลากรภายในทั่วทั้งองค์กรให้ทราบและถือปฏิบัติ

จัดกิจกรรม KM DAY ประจำปี ตั้งแต่ ๒๕๔๙- ๒๕๕๖  (ตัวอย่างรายงานกิจกรรม KM DAY ปี ๒๕๕๖)

จัดให้มีกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs)แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ผ่านกิจกรรม CoPs  การสอนงาน (Coaching)  กิจกรรมความสุข กับ Scienceนำเสนอผลงานประจำปีในงาน KM DAY

๑๐

บันทึก จัดเก็บองค์ความรู้ ของบุคลากร วศ. ในระบบอินทราเน็ต เว็บไซต์องค์การเรียนรู้ของ วศ.  (siweb.dss.go.th/lo และ siweb.dss.go.th/km)    

๑๑

จัดทำรายงานและประเมินผลการดำเนินงาน โดย ฝ่ายเลขาฯ แต่ละคณะ

 

           ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ – ปัจจุบันKM ไม่ได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดหลักของ วศ. จึงได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนฯ KM  วศ. และแผนฯ KM สำนัก/โครงการ เน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และไม่ได้จัดทำรายงาน เสนอ กพร.

 

รายชื่อผู้บริหารด้าน KM วศ. ตั้งแต่ เริ่มต้น – ปัจจุบัน

ปีงบประมาณ

อวศ.

ผู้บริหารด้านการจัดการความรู้ วศ.

(Chief Knowledge Officer, CKO)

๒๕๕๘

ดร.สุทธิเวช ต.แสงจันทร์

ดร.ณัชนพงศ์ วริรวงศ์บุรี

๒๕๕๗

(เม.ย. ๕๗ –ก.ย.๕๗)

นางสาวเสาวนี มุสิแดง

ดร.ณัชนพงศ์ วริรวงศ์บุรี

๒๕๕๗

(ต.ค.๕๗ -มี.ค.๕๗)

นางสาวเสาวนี มุสิแดง

ว่าที่ร้อยตรีสรรค์ จิตรใคร่ครวญ

๒๕๕๖

นางสาวเสาวนี มุสิแดง

ว่าที่ร้อยตรีสรรค์ จิตรใคร่ครวญ

๒๕๕๕

ดร. สุทธิเวช ต.แสงจันทร์

นางสาวจันทร์เพ็ญ ใจธีรภาพกุล

๒๕๕๔

นายเกษม พิฤทธิ์บูรณะ

นางสาวจันทร์เพ็ญ ใจธีรภาพกุล

๒๕๕๔

นายเกษม พิฤทธิ์บูรณะ

นายพายับ นามประเสริฐ

๒๕๕๓

นายปฐม แหยมเกตุ

นายเกษม พิฤทธิ์บูรณะ

๒๕๕๒

นายปฐม แหยมเกตุ

นายปรีชา ธรรมนิยม

๒๕๕๑

นายชัยวุฒิ เลาวเลิศ

นางสุจินต์ ศรีคงศรี

๒๕๕๐

นายชัยวุฒิ เลาวเลิศ

นางรุ่งอรุณ วัฒนวงศ์

๒๕๔๙

ดร.สุจินดา โชติพานิช

นางสุจินต์ ศรีคงศรี

๒๕๔๘

ดร.สุจินดา โชติพานิช

นางอัจฉรา พุ่มฉัตร

 

นโยบายด้านการจัดการความรู้ ของ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ปี ๒๕๔๙ – ๒๕๕๘

ปีงบประมาณ

นโยบาย KM วศ.

๒๕๕๘

ร่วมพลังสร้างสรรค์องค์ความรู้ มุ่งสู่ความเชี่ยวชาญ พัฒนาองค์การอย่างยั่งยืน

๒๕๕๗

พลังความรู้ วศ. สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

๒๕๕๖

สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง

๒๕๕๕

สร้างความตระหนักในการจัดการองค์ความรู้ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาความสามารถของบุคลากร มุ่งสู่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบูรณาการอย่างต่อเนื่อง

๒๕๕๔

พัฒนาบุคลากรของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้มีความเชี่ยวชาญ รอบรู้ คู่คุณธรรม มีทักษะด้านภาษาอังกฤษ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสื่อสารกันอย่างเป็นระบบ มีการถ่ายทอดความรู้สู่สังคม

๒๕๕๒ ๒๕๕๓

พัฒนาบุคลากรของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ให้มีความรอบรู้คู่คุณธรรม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดอย่างเป็นระบบ และถ่ายทอดความรู้สู่สังคม

๒๕๕๑

พัฒนาบุคลากรของกรมวิทยาศาสตร์บริการให้เป็นผู้ใฝ่รู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดอย่างเป็นระบบ พัฒนากระบวนงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

๒๕๕๐

พัฒนาบุคลากรของกรมวิทยาศาสตร์บริการให้เป็นผู้ใฝ่รู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดอย่างเป็นระบบ พัฒนากระบวนงาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

 

๒๕๔๙

เพื่อให้กรมวิทยาศาสตร์บริการเป็น “องค์การแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง”ครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร คือ การบริหารจัดการคนให้เป็นผู้มีความรู้ มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาคน พัฒนากระบวนงาน พัฒนาองค์กร ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ โดยมีการจัดการความรู้ดังนี้

          ๑.  พัฒนาบุคลากรของกรมวิทยาศาสตร์บริการให้เป็นบุคคลเรียนรู้ มีทักษะความสามารถเฉพาะทาง และสามารถยกระดับความรู้ที่เกิดขึ้นให้เป็น “คลังความรู้”

          ๒.  สร้างวัฒนธรรมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยตั้งกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ (COP : Community of Practice) ในแต่ละภารกิจเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ในแต่ละวิชาชีพ

          ๓.  สร้างเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน http://siweb.dss.go.th/lo เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดการความรู้แก่บุคลากรในทุกหน่วยงานย่อย ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการปฏิบัติงาน และเป็นการสร้างนวัตกรรมในองค์กร

 

รายชื่อ CoPs วศ. ปี 2557 จำนวน  ๑๖ กลุ่ม

ทะเบียนกลุ่ม

CoPs

หน่วยงาน

วศ.บร. ๐๑

มุ่งเน้นพัฒนาห้องปฏิบัติการ

สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ   

วศ.ทช. ๐๑

พลังแห่งความสำเร็จ

สำนักเทคโนโลยีชุมชน

วศ.ทช. ๐๒

fusion food  ชุมชนคนวิจัย 

สำนักเทคโนโลยีชุมชน

วศ.ทช. ๐๓

เซรามิก...เอาอยู่และควบคุมได้

สำนักเทคโนโลยีชุมชน

วศ.ทช ๐๔

Best Idea & Design

สำนักเทคโนโลยีชุมชน

วศ.คม.  ๐๑

เคมีสร้างสรรค์

โครงการเคมี

วศ.บท. ๐๑

ALL FOR ONE-ONE FOR ALL

ศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ

วศ.ฟว. ๐๑

สื่อสารทันสมัย สายใย ฟว.

โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม

วศ.พศ. ๐๑

พัฒนาการปฏิบัติงานด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ

วศ.พศ. ๐๒

Smart Trainer

สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ

วศ.สท. ๐๑

พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วศ.สท. ๐๒

บริการสารสนเทศ

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วศ.สท. ๐๓

เทคโนโลยีสารสนเทศ

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วศ.สท. ๐๔

บริหารจัดการงานสนับสนุน

สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วศ.สล. ๐๑

บูรณาการภารกิจสนับสนุน

สำนักงานเลขานุการกรม

วศ.วช.๐๑

ISO/IEC 17025

โครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ


รายชื่อองค์ความรู้ที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน ตาม ประเด็นยุทธศาสตร์ วศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔      

        ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๖ ไม่ได้จัดทำแผนการจัดการความรู้ วศ. ตามแบบ กพร.  วศ. จัดการความรู้ทั่วทั้งองค์กร มี แผนดำเนินงาน KM วศ. และ แผนฯ สำนัก / โครงการ มุ่งเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ

ปีงบประมาณ

ประเด็นยุทธศาสตร์

องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติราชการ

หน่วยงานรับผิดชอบ

๒๕๕๔

ที่ ๑. เป็นแหล่งอ้างอิงของประเทศด้านการวิเคราะห์ทดสอบเพื่อการรับรองคุณภาพสินค้าส่งออกและการคุ้มครองผู้บริโภค

๑. แนวทางในการตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการใช้งาน (Intermediate Check) สำหรับงานวิเคราะห์ทดสอบ

คม ฟว วช

ที่ ๒. ภาคการผลิตการค้าและการบริการได้รับบริการทาง ว และ ท ที่มีคุณภาพ มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

๒. การจัดการความรู้ในกระบวนงานด้านข้อกำหนด ISO/IEC 17043

บร

ที่ ๓. ผลงานและบริการทาง ว และ ท ใช้ ประโยชน์ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการเพิ่มโอกาสการแข่งขันได้

๓. การบริการสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงรุก

สท

ที่ ๔. เป็นศูนย์กลางการพัฒนากำลังคนทาง ว และ ท ของประเทศให้มีขีดความสามารถระดับสากล

๔. จัดการความรู้เพื่อพัฒนาวิทยากรให้เป็นวิทยากรมืออาชีพ

พศ.

ที่ ๕. องค์กรและบุคลากรเป็นที่เชื่อถือยอมรับในระดับสากลมีการบริหารจัดการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และมีธรรมาภิบาล

๕. การจัดทำวิธีปฏิบัติงานกระบวน งานสนับสนุน (ด้านพัสดุ การเงิน และ สารบรรณ)

สล.

๒๕๕๓

ที่ ๑. เป็นแหล่งอ้างอิงของประเทศด้านการวิเคราะห์ทดสอบเพื่อการรับรองคุณภาพสินค้าส่งออกฯ

๑. การจัดการความรู้ด้านการจัดทำความใช้ได้ของการวัด (Validity of Measurements)

คม ฟว. วช

ที่ ๒. ภาคการผลิตการค้าและการบริการได้รับบริการทาง ว และ ท ที่มีคุณภาพฯ

๒. การจัดการความรู้ เพื่อขยายขอบ ข่ายการรับรองความสามารถห้อง ปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005

บร.

ที่ ๓. ผลงานและบริการทาง ว และ ท ใช้ประโยชน์ตอบสนองความต้องการของลูกค้าฯ

๓. การจัดการความรู้ในระบบคุณภาพ ISO 9001 : 2008 ขอบข่ายบริการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ทช.

๒๕๕๒

ที่ ๓. ผลงานและบริการทาง ว และ ท ใช้ ประโยชน์ตอบสนองความต้องการของลูกค้าฯ

๑. การสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของวิสาหกิจชุมชน

ทช.

๒. การจัดการฐานข้อมูลการจัดการความรู้ในสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สท.

ที่ ๔. เป็นศูนย์กลางการพัฒนากำลังคนทาง ว และ ท ของประเทศให้มีขีดความสามารถฯ

๓. การจัดการความรู้เพื่อให้มีระบบการฝึกอบรมเป็นไปตามมาตรฐานสากล

พศ.

๒๕๕๑

ที่ ๒. ภาคการผลิตการค้าและการบริการได้รับบริการทาง ว และ ท ที่มีคุณภาพฯ

๑. การจัดการความรู้ด้านระบบคุณภาพและการสื่อสารระหว่างผู้ประเมินกับห้องปฏิบัติการ

บร.

๒๕๕๐

ที่ ๒. ภาคการผลิตการค้าและการบริการได้รับบริการทาง ว และ ท ที่มีคุณภาพฯ

๑. การจัดการความรู้ด้านการประเมินห้องปฏิบัติการให้เป็นแนวทางเดียวกัน

 

บร.

ที่ ๓. ผลงานและบริการทาง ว และ ท ใช้ ประโยชน์ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในการเพิ่มโอกาสการแข่งขันได้

๒. การจัดการความรู้ในกระบวนงานด้านการบริหารจัดการสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สท.

๒๕๔๙

ที่ ๑. เป็นแหล่งอ้างอิงของประเทศด้านการวิเคราะห์ทดสอบเพื่อการรับรองคุณภาพสินค้าส่งออกและการคุ้มครองผู้บริโภค

๑. การจัดการความรู้ด้านเทคนิคการวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบที่ทันสมัย และที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ

 

คม ฟว วช