KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

  1. ชื่อชุมชนนักปฏิบัติ เซรามิกสร้างสรรค์ ชื่อหน่วยงาน สำนักเทคโนโลยีชุมชน กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซรามิกและกลุ่มวิจัยและพัฒนาการผลิตเซรามิก
  2. ชื่อผลงาน  แลกเปลี่ยนประสบการณ์เซรามิกจากพี่สู่น้อง                                                                        
  3. ความเป็นมา กลุ่มเซรามิกสร้างสรรค์เกิดขึ้นจากการรวมตัวของ 2 กลุ่มงานคือ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซรามิกและกลุ่มวิจัยและพัฒนาการผลิตเซรามิก มีสมาชิกรวมทั้งหมด 21 คน สมาชิกมีการลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่วิสาหกิจชุมชนต่างๆ กลุ่มผู้ประกอบการเซรามิกมีความสนใจในเรื่องวิธีการใช้งานเตาเผา , การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน , การทำแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์, การตกแต่งสีด้วยแอร์บรัช , การแกะฉลุลาย และการปั้นดอกไม้ แต่กลุ่มมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องดังกล่าวค่อนข้างจำกัด จึงทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีในหลายพื้นที่พร้อมกัน กลุ่มจึงได้ประชุมระดมความคิดเพื่อแก้ปัญหา นอกจากนั้นแล้วรุ่นพี่ที่มีความชำนาญในเรื่องดังกล่าวก็จะเกษียณอายุราชการในไม่กี่ปีข้างหน้า และจากการประชุมจึงได้ข้อสรุปว่าจะต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน และได้มีการฝึกปฏิบัติงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์งานด้านเซรามิกเพื่อให้เกิดความชำนาญมากขึ้น และมีการนำเสนอความก้าวหน้าของผลงานพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข จากการจัดทำ CoPs ในครั้งนี้ทำให้น้องๆนักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้การทำงานจากรุ่นพี่ และนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับงานฝีมือ และสามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้กับงานวิจัยและสามารถถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการได้
  4. วัตถุประสงค์  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์งานด้านเซรามิก  ได้แก่ งานวิจัย งานผลิต งานถ่ายทอด และงานทดสอบ  จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องได้
  5. กิจกรรม/วิธีการ/ขั้นตอน.-
    1. จัดตั้งกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติ  31 ต.ค. 57 ณ ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบเฉพาะทาง
    2. รุ่นพี่และรุ่นน้อง ฝึกปฏิบัติและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์งานด้านเซรามิก พร้อมนำเสนอแนวคิดของงานเซรามิกที่จะจัดทำ  17 ธ.ค. 57 ณ ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบเฉพาะทาง
    3. นำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 1 และรับฟังข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไข  12 ก.พ.58  ณ ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบเฉพาะทาง
    4. นำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 2 และรับฟังข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไข  11 มี.ค..58  ณ ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบเฉพาะทาง
    5. นำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 3 และรับฟังข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไข  29 เม.ย..58  ณ ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบเฉพาะทาง
    6. นำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 4 และรับฟังข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไข  29 พ.ค.58  ณ ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบเฉพาะทาง
    7. นำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 5 และรับฟังข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไข  30 มิ.ย.58  ณ ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบเฉพาะทาง
    8. นำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 6 และรับฟังข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไข  2 ก.ค. 58  ณ ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบเฉพาะทาง
    9. นำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 7 และรับฟังข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไข  26 ส.ค.58  ณ ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบเฉพาะทาง
    10. นำเสนอความก้าวหน้า ครั้งที่ 8 และรับฟังข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไข  24 ก.ย.58  ณ ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบเฉพาะทาง ห้อง 501 ชั้น 5 อาคารทดสอบ

6. ภาพประกอบ

 

  1. ผลสำเร็จ
  1. ถ่ายทอดความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคนจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
  2. ใช้หลักวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนางานฝีมือ
  3. สร้างสัมพันธภาพที่ดีในกลุ่มงานระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง
  4. สมาชิกทุกคนได้เพิ่มพูนทักษะและความเชี่ยวชาญ
  5. สามารถนำความรู้ไปใช้ในงานวิจัยและถ่ายทอดสู่ผู้ประกอบการเซรามิก
  6. ได้วิทยากรเพิ่มขึ้น 6 คน:ซึ่งวิทยากรได้ถ่ายทอดเทคโนโลยี คือ หลักสูตร เทคนิคการตกแต่งสีตุ๊กตาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ณ กลุ่มปั้นประติมากรรมบ้านป่าตาล จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2558

8. เกียรติบัตร/รางวัล  รางวัลชมเชย การประกวดชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ
    (DSS KM DAY 2015)