KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ
Theme: เคมีสร้างความปลอดภัย ห่วงใยผู้ปฏิบัติงาน
การจัดการถ่ายทอดองค์ความรู้ (KM) เคมี Ishiki ครั้งที่ 1/2559 
เรื่อง “คู่มือความปลอดภัย วศ.”
โดย นว.ปก.โอบเอื้อ  อิ่มวิทยา, นว.ปก.หนึ่งฤทัย  แสแสงสีรุ้ง, 
นว.ชพ. ดวงกมล เชาว์ศรีหมุด และ นว.ปก. ชมพูนุช ไปมูลเปี่ยม
โครงการเคมี 19 กุมภาพันธ์ 2559
 
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาคู่มือความปลอดภัยของ วศ. ประเมินความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาร่วมกันเป็นกลุ่ม และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น
 
เนื้อหาโดยสรุป 
ดำเนินการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ตามแนวทางปฏิบัติในคู่มือความปลอดภัย วศ. ในรูปแบบการบรรยาย การชมวีดีทัศน์ การประชุมกลุ่มเพื่อการรวบรวมข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของแต่ละกลุ่มงานโครงการเคมี  โดยแบ่งเป็นช่วงดังต่อไปนี้
 
ส่วนที่ 1 (นว.ปก. หนึ่งฤทัย แสแสงสีรุ้ง)
ได้นำเสนอเรื่องราวการปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุการณ์สารเคมีหกรั่วไหล (Chemical spill) ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
1. ปฏิบัติตามคู่มือความปลอดภัยของ วศ. หน้า 30 ข้อ 5.3.1.6: เตรียมการจัดการเบื้องต้นเพื่อป้องกัน พร้อมรับ และตอบโต้เหตุฉุกเฉิน (สารเคมีหกรั่วไหล น้ำท่วม เพลิงไหม้) เช่น
1.1การเตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาดโดยจัดวาง ณ ตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่ายเมื่อเกิดเหตุ
1.2การเตรียมวัสดุดูดซับที่เพียงพอ และเหมาะสมกับสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ เช่น vermiculite เพื่อดูดซับสารเคมีอันตรายที่เป็นของเหลว และต้องมีการทดแทนอุปกรณ์ที่ใช้แล้วหรือเสื่อมสภาพ พร้อมทั้งมีการตรวจสอบจำนวนเป็นระยะๆ
1.3มีการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในภาวะฉุกเฉินเป็นประจำตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดทั้งด้านความพร้อมใช้งาน ปริมาณและการเข้าถึงได้สะดวก
 
2. การเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุการณ์
2.1ต้องรู้จักเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (material safety data sheet, MSDS)
2.2มีการเตรียมอุปกรณ์สำหรับกำจัดสารเคมีที่หกรั่วไหล (Chemical spill kit)
 
3. การจัดการเมื่อสารเคมีที่ไม่อันตรายมากเกิดการหกรั่วไหล
3.1 อย่าตื่นตระหนก 
3.2 หยุดแหล่งที่เกิดการหกรั่วไหล 
3.3 ตรวจสอบฉลากของสารเคมีที่หกว่าเป็นสารอะไร แล้วดูวิธีกำจัดจาก MSDS
3.4 นำอุปกรณ์สำหรับกำจัดสารเคมีที่หกรั่วไหล (Chemical spill kit) แล้วจัดการตามขั้นตอน
3.5 ของแข็ง (กวาดทิ้ง) ถ้าเป็นของเหลวก็กั้นพื้นที่ ดูดซับด้วยวัสดุที่เหมาะสม และทำความสะอาดพื้น
3.6 นำสารเคมี และวัสดุดูดซับที่ปนเปื้อนแล้วใส่ลงในถุง ติดฉลาก รอส่งกำจัด
 
4. แจ้งหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงาน กั้นบริเวณแจ้งเตือนว่าเกิดสารเคมีหกรั่วไหล และต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมในขณะที่กำจัดสารเคมีที่หก
 
5. การจัดการกับปรอทที่รั่วไหลจากการทำเทอร์โมมิเตอร์แตกหัก
5.1 สวมถุงมือ แว่นตา และหน้ากากปิดจมูกขณะที่จัดการกับปรอทที่รั่วไหล
5.2 กั้นพื้นที่ไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้า แปะป้ายบอกว่ามีปรอทรั่วไหล
5.3 ไม่ใช้ไม้กวาดหรือที่โกยผงในการกำจัด เพราะนอกจากจะโกยปรอทไม่ได้แล้วยังจะปนเปื้อนปรอทหลังจากใช้งานอีกด้วย
5.4 ใช้กระดาษแข็ง 2 แผ่น ค่อยๆ ตักปรอทใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท
5.5 ถ้าปรอทเป็นเม็ดๆ สามารถใช้หลอดหยดดูดขั้นมาได้ หรือใช้เทปกาวแปะปรอทให้ติดขึ้นมา
5.6 เก็บของที่ปนเปื้อนปรอททั้งหมดใส่ขวดปิดฝา ติดฉลากระบุชนิดของเสีย รอส่งกำจั
 
 
 
ส่วนที่ 2 (นว.ปก. โอบเอื้อ อิ่มวิทยา)
ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล (First aid) ผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ การรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ และขอความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงแบบฟอร์มรายงานอุบัติเหตุ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
1. การปฐมพยาบาลและการปฏิบัติเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่
1.1 บาดแผลจากของมีคม – ใช้อุปกรณ์ปฐมพยาบาล 
1.2 บาดแผลไหม้จากสารเคมี – ศึกษา MSDS และรักษาให้ถูกวิธี 
1.3 บาดแผลไฟไหม้ – ค้นหาและกำจัดแหล่งกำเนิดไฟ และรักษาให้ถูกวิธี 
1.4 ไฟไหม้เสื้อผ้า – ดับไฟด้วยผ้าห่มกันไฟ (Fire blanket)
1.5 สารเคมีเข้าตา – ล้างตาด้วยอุปกรณ์ล้างตา (Eyewash)
1.6 สารเคมีหรือสารพิษเข้าสู่ทางเดินอาหาร – ใช้สารต้านพิษ (Antidote) ที่เหมาะสม และรีบพบแพทย์
1.7 สารเคมีหกใส่ – ศึกษา MSDS และรักษาให้ถูกวิธี
1.8 รายงานอุบัติเหตุทุกครั้ง
 
2. อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (Lab safety equipment) ที่ต้องมีไว้ในห้องปฏิบัติการ ได้แก่
2.1 MDSD
2.2 เอกสารเกี่ยวสารต้านพิษ (Antidote chart)
2.3 อุปกรณ์ล้างตัว
2.4 อุปกรณ์ล้างตา
2.5 ผ้าห่มกันไฟ
2.6 อุปกรณ์ปฐมพยาบาล
2.7 อุปกรณ์ดับเพลิง 
2.8 อุปกรณ์สำหรับกำจัดสารเคมีที่หกรั่วไหล 
 
3. ประเภทของอุปกรณ์ดับเพลิง ได้แก่ น้ำ ผงแห้ง (Dry powder) โฟม (Foam) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) และสารเคมีเปียก (Wet chemicals)
 
4. อุปกรณ์สำหรับกำจัดสารเคมีที่หกรั่วไหล ได้แก่ ตัวดูดซับตัวทำละลายแบบเฉื่อย (Vermiculite) สารทำให้เป็นกลางชนิดกรดและเบส (Acid and alkali neutralizers) แว่นตานิรภัย หน้ากากกรองสารเคมี หน้ากากกันฝุ่น ผ้ายางกันสารเคมี (Rubber apron) ถุงมือยาง ที่หุ้มรองเท้าทำจากยาง ช้อนพลาสติกตักขยะ ถุงขยะและฉลากติด
 
5. แผนผังขั้นตอนดำเนินงานเมื่อเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ
 
6. ตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานเหตุการณ์ (Incident report) ของโครงการเคมี
 
7. ตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ (Accident investigation report) ของโครงการเคมี
 
8. วีดิทัศน์เกี่ยวกับอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการและการปฐมพยาบาล
 
ส่วนที่ 3 (นว.ชพ. ดวงกมล เชาว์ศรีหมุด และ นว.ปก. ชมพูนุช ไปมูลเปี่ยม)
ได้นำเสนอเรื่องการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติ เพื่อการทบทวนการจัดการห้องปฏิบัติการตามคู่มือความปลอดภัย วศ. โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
1.อธิบายแบบฟอร์ม (checklist DSS.RW.01) ในคู่มือความปลอดภัยของ วศ.
2.แบ่งกลุ่มตามกลุ่มงาน ลธ. ผซ. ชป. นบ. ออ. และ คอ. เพื่อกรอกแบบฟอร์ม
3.สรุป และนำเสนอข้อมูลด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการในปัจจุบัน และแผนจัดการในอนาคต