รายงานสรุปการบรรยาย

เรื่อง หลักการของการประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน

(The Principles of Chemical Risk Assessment  for Workers’ Health)

 

นว.มาโนชย์ อัตเนย์

อ้างอิง : โครงการวิจัย เรื่อง การประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการเคมี

 

เนื้อหา

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานตาม มอก. 2535-2555 ว่าด้วยเรื่อง การประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม การประเมินความเสี่ยงประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การระบุว่าเป็นสารเคมีอันตราย (hazard identification)2) การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพหรือความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสารเคมีอันตรายที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกาย (hazard characterization or dose - response assessment)3) การประเมินการสัมผัส (exposure assessment)4) การระบุลักษณะเฉพาะความเสี่ยง (risk characterization)ซึ่งการระบุลักษณะเฉพาะความเสี่ยงมีขั้นตอนการปฏิบัติตั้งแต่ขั้นตอนระดับความรุนแรงของสารเคมีอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ การระบุระดับความเข้มข้นสารเคมีอันตรายเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน การระบุระดับความถี่การได้รับสัมผัส การระบุระดับการรับสัมผัส จนกระทั่งถึงจัดระดับความเสี่ยง โดยการประเมินความเสี่ยงตาม มอก. 2535-2555 ครอบคลุมเฉพาะการประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับยอมรับได้ ระดับต่ำ ระดับปางกลาง ระดับสูง และระดับสูงมาก

หลังจากมีการประเมินความเสี่ยงแล้ว จำเป็นต้องมีการจัดการความเสี่ยง โดยมาตรการการควบคุมความเสี่ยงตาม (Risk Control)มีตั้งแต่การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) การสร้างความตระหนักโดยผู้ปฏิบัติงาน (Admin) การควบคุมทางด้านวิศวกรรม การหาสิ่งทดแทนหรือทางเลือกอื่นที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรืออันตรายน้อยกว่า จนกระทั้งถึงการกำจัดแหล่งกำเนิดอันตราย

 

Published on 01 August 2016
Hits: 1080