KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

รายงานกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ ทช.

ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐

วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.

ณ ห้องประชุม ๓๑๒ ชั้น ๓ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๑. นางวรรณา ต.แสงจันทร์                            ๑๖. นางปฎิญญา จิยิพงศ์

๒. นายปัญจ์ยศ  มงคลชาติ                            ๑๗. นายวรวิทย์ เคนหงส์

๓. นายสุทธิศักดิ์ กลิ่นแก้วณรงค์                     ๑๘. นางสาวอภัสนันท์ แสงสว่าง

๔. นางสาวไพรัตน์  ศรีชัยนาท                        ๑๙. นางสาวอินทิรา มาฆพัฒนสิน

๕. นางสาวขนิษฐา อินทร์ประสิทธิ์                   ๒๐. นายไพฑูรย์ จำรัสฉาย

๖. นางสาวสุนีย์พร โพธิ์แก้ว                           ๒๑. นางสาวศศิธร พละบุญ

๗. นายณภสกร ศรีนันทสุนทร                         ๒๒. นางสาวปริชญา พิริยางกูร

๘. นางสาวฤทัยรัตน์ แก้วดี                             ๒๓. นางสาวชัญญาธร บุญศรีสุข

๙. นางสาวณฐกันต์ สำเริง                             ๒๔. นางสาวศิริวรรณ แซ่ภู่

๑๐. นางสาวภัทรีสา ฝันเชียร                          ๒๕. นางสาวภัทธิญา สุวรรณสนธ์

๑๑. นางสาวจุติภา บุญวิเศษ                          ๒๖. นางสาวโสรญา อินทรเกษตร

๑๒. นายชาญวิทย์ ภิรมย์กิจ                           ๒๗. นายธิติพัทธ์ โปธา

๑๓. นางสาวนงลักษณ์ บรรยงวิมลณัฐ               ๒๘. นายนพดล สิงห์สุวรรณ

๑๔. นางสาวปริยากร มิตรชอบ                       ๒๙. นายอรุณ คงแก้ว

๑๕. นายเมธี ครองพงษ์                                ๓๐. นางจิตต์เรขา ทองมณี

 

สรุป/สาระประเด็น๑.  ผทช. กล่าวเปิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่อง การเพิ่มมูลค่าทางการตลาด

                       และการตลาดออนไลน์

                        ผทช. ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นคือ ต้องการให้บุคลากร ทช. ได้ศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่อง การเพิ่มมูลค่าทางการตลาด และการตลาดออนไลน์ เพื่อให้สามารถแชร์ความรู้ในส่วนนี้แก่ผู้ประกอบการได้ เช่น การสร้าง Line, Facebook ในโทรศัพท์มือถือได้เพื่อเป็นช่องทางในการจำหน่ายสินค้า

                       ๒.  การแลกเปลี่ยนความรู้เรื่อง การเพิ่มมูลค่าทางการตลาด และการตลาดออนไลน์

                       โดยนายสุทธิศักดิ์  กลิ่นแก้วณรงค์ตำแหน่งนักวิชาการออกแบบปฏิบัติการ  เป็นวิทยากรในการ

                       แลกเปลี่ยนความรู้

                       นายสุทธิศักดิ์ได้นำเสนอความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสำนักเทคโนโลยีชุมชน เช่น การจำหน่ายสินค้า OTOP การถ่ายทอดความรู้เรื่อง ช่องทางการจำหน่ายสินค้าแก่ผู้ประกอบการ  และเปิดเรื่องด้วยประโยคสั้นๆที่ว่า “ขายไม่สะดุด ด้วยกลยุทธ์การตลาด” โดยได้อธิบายเรื่องวิวัฒนาการของการตลาดตั้งแต่การตลาด 1.0, การตลาด 2.0, การตลาด 3.0 และการตลาด 4.0 ให้บุคลากร ทช. รับฟัง

                       การตลาด ยุค 1.0   เป็นยุคการตลาดที่เน้นตัวสินค้าเป็นสิ่งสำคัญ  ลดต้นทุน  ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด ใช้หลัก 4P   products/price /place/promotion  เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคเข้าถึงตัวสินค้าได้ง่ายขึ้น โดยตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นมีวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยวงจร 4 ขั้นตอน คือ

                        1) ขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ (Product Introduction)

                        2) ขั้นตลาดเจริญเติบโต (Market Growth)

                        3) ขั้นตลาดอิ่มตัว (Market Maturity) 

                        4) ขั้นยอดขายตกต่ำ (Sales Decline)

                        การตลาด ยุค 2.0   เน้นการตลาดที่ลูกค้าคือพระเจ้า เน้นผู้บริโภคเป็นสำคัญและ เริ่มมีระบบสาระสนเทศมากขึ้น ตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด โดยใช้หลัก 4C

- มีบริการหลังการขาย

- มีวิธีการอย่างไรให้ผู้บริโภคสะดวกขึ้น

- สื่อสารกับผู้บริโภคว่ามีโปรโมชั่นอย่างไร

เช่น ผู้บริโภคยุคใหม่อยากได้เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลต่ำและเน้นสุขภาพมากขึ้น เป็นต้น เปรียบเทียบผู้ประกอบการ 2

รายระหว่าง Kodak กับ Fujiflim ซึ่งตอนนี้เหลือเพียงแต่ Fujiflim ที่ยังคงมีสินค้าอยู๋ในตลาดเนื่องจาก Fujiflim มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนสินค้าให้ทันกับยุคสมัยให้สามารถใช้งานได้ ขณะที่ Kodak เน้นขายสินค้าที่เป็นฟิล์มรูปแบบเก่าเพียงแบบเดียวไม่มีการนำสินค้าแบบใหม่มาขาย ทำให้ทุกวันนี้เราแทบไม่เห็น Kodak ในตลาดแล้ว  และเรื่อง STP Model คือเครื่องมือทางการตลาดที่วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการแบ่งส่วนตลาด กำหนดกลุ่มเป้าหมาย และวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์จะนำมาใช้ในประกอบการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้                                  

                        การตลาด ยุค 3.0  ให้ความสำคัญกับ Brand และการตลาดยุคนี้จะเน้นเรื่อง CSR  (Corporate Social Responsibility)   ความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เช่น SCG, PTT ที่ธุรกิจเน้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   และรวมไปถึงการเปิดกว้างให้ผู้บริโภคมีส่วนในการออกความคิดเห็นของสินค้าหรือบริการมากยิ่งขึ้นมีความเป็นสังคมมากขึ้น รูปแบบการดำเนินชีวิตแบบออนไลน์ ผ่านช่องทางสื่อสังคม เช่น การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce, Prompt pay, Facebook และ Line appiclation เป็นต้น

                        การตลาด ยุค 4.0 การตลาดยุคระบบดิจิตอล ผู้บริโภคมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก เป็นยุคของ Social Media Marketing คือ การเปิดกว้างทางความคิด  การมีส่วนร่วม  และยุคของความแตกต่าง เนื่องจากมีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่ทำให้ลูกค้ามีการติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ตลอดจนการค้นหาข้อมูล ซื้อ ขาย สินค้าและบริการที่ไร้พรหมแดน เช่น การจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต, ร้านค้าของ Amazon ที่หยิบสินค้าแล้วสามารถเดินออกจากร้านได้ทันที โดยระบบชำระค่าสินค้าผ่านแอพลิเคชั่นบนมือถือ เป็นต้น โดยการตลาดยุคนี้จะเน้นกลุ่มผู้บริโภค 3 กลุ่มคือ วัยรุ่น (Youth) เป็นกลุ่มที่ชอบใช้ชีวิตผ่านระบบดิจิตอล, ผู้หญิง(Woman) เป็นกลุ่มที่เลือกซื้อสินค้าด้วยความคุ้มค่า มีความละเอียดอ่อน ใช้ดีแล้วบอกต่อ และผู้คนที่ใช้อินเตอร์เน็ทเป็นชีวิตประจำวัน (Netizens) ชอบรีวิวสินค้า ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว     

                        นอกจากนี้มีการกล่าวถึงขั้นตอนการวางแผนการตลาด คือ การวิเคราะห์สถาณการณ์ในปัจจุบัน เช่น การตลาดปัจจุบัน (หลัก 4P), การทำ SWOT analysis วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งขององค์กร, การกำหนดวัตถุประสงค์, แผนการดำเนินการตามกลยุทธ์,และการวัดผล จากนั้นได้มีการแชร์ความรู้และความคิดเห็นกันภายในที่ประชุม

                          

รูปภาพกิจกรรมครั้งที่ ๑/๒๕๖๐

      

 

       

 

...................................................