KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ
กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค จัดการถ่ายทอดองค์ความรู้ครั้งที่ ๑ 
กลุ่ม CoPs เคมี Ishiki
เรื่อง "การจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ"
วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ ห้อง ๓๒๐ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ 
 
เรื่องที่ ๑. การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมการจัดการของเสียและเยี่ยมชมศูนย์การจัดการด้านพลังงาน       สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Energy Environment Safety and Health, EESH) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)  ในโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความปลอดภัยห้องปฏิบัติการทดสอบเคมีตามมาตรฐานสากล
โดย นว.ปก.สุทธิสาร แก้วคราม และ นว.จันทร์เพ็ญ เกิดผล
จากการอบรมการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการตาม “คู่มือปฏิบัติด้านความปลอดภัยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ” ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ๑) การจำแนกประเภทของเสีย ๒) การจัดเก็บของเสีย   ๓) การบำบัดของเสียเบื้องต้นและการกำจัดของเสียอันตราย ๔) การรายงานข้อมูลของเสียอันตราย ส่วนการเยี่ยมชมศูนย์ EESH ได้เข้าเยี่ยมชมในส่วนห้องปฏิบัติการและโรงเรือนจัดเก็บของเสีย โดย มจธ. ได้จัดแยกของเสียในห้องปฏิบัติการออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ ของเสียอันตรายชนิดของเหลว ของแข็ง และของเสียอันตรายพิเศษ เมื่อแบ่งกลุ่มได้แล้ว จึงจัดแยกของเสียในแต่ละกลุ่มตามแผนปฏิบัติงานของ มจธ. ก่อนที่จะส่งไปโรงเรือนจัดเก็บของเสียอันตรายต่อไป
 
เรื่องที่ ๒. การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการของแต่ละกลุ่มงาน โดย 
นว.ชก.วีระ สวนไธสง  กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะ (ผล.) 
นว.ชพ.วสันต์ ธีระพิทยานนท์  กลุ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม (วล.) 
นว.ปก.สมบูรณ์ ใสสอาด  กลุ่มเคมีภัณฑ์ (คภ.) 
นว.จิรัฏฐ์ ลัดดาวัลย์  กลุ่มเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ชป.) 
นว.ชมพูนุช ไปมูลเปี่ยม กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคมี (ผค.)  
นว.จันทร์เพ็ญ เกิดผล                         กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน (คค.)  
 
          กลุ่ม ผล. ทดสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์จำพวกโลหะ โลหะผสม เครื่องประดับ วัสดุสัมผัสอาหาร ของเล่น กระดาษ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดของเสียประเภทขยะปนเปื้อนสารเคมี (W21)ของเสียที่เป็นไอออนของโลหะหนักอื่นๆ (W10) และของเสียที่เป็นปรอท (W06) ส่วนที่เป็นของเสียสารเคมี 4% CH3COOH ที่เกิดจากการทดสอบ Leaching ทำการเจือจางแล้วทิ้ง ซึ่งกลุ่ม ผล. มีแผนดำเนินการต่อไป ดังนี้ จัดหาสถานที่เก็บของเสีย จัดทำฉลากของเสียอันตราย และจัดหาวัสดุเก็บของเสีย 
            กลุ่ม วล. ทดสอบตัวอย่างน้ำเสีย อากาศ และกากอุตสาหกรรม ทำให้เกิดของเสียประเภทของเสียที่เป็นกรด (W01)  ของเสียที่เป็นเบส (W02)  ของเสียประเภทออกซิไดซ์ซิงเอเจนต์ (W04) ของเสียที่เป็นสารปรอท (W06) ของเสียที่มีโครเมียม (W07)  ของเสียที่เป็นไอออนของโลหะหนักอื่นๆ (W10) ของเสียที่เป็นสารไวไฟ (W15)  ของเหลวอินทรีย์ที่ประกอบด้วยน้ำมากกว่า 5% (W16)  ของเสียที่เป็นสารพิษ (W18) ขวดแก้วสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว (W19)  เครื่องแก้วและขวดสารเคมีที่แตก (W20) และขยะปนเปื้อนสารเคมี  (W21)
       กลุ่ม คภ. ทดสอบตัวอย่างเคมีภัณฑ์ สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดน้ำ และสารตั้งต้นในการผลิต ทำให้เกิดของเสียประเภทของเสียที่เป็นกรด (W01)  ของเสียที่เป็นด่าง (W02)  ของเสียที่เป็นเกลือ (W03)  ของเสียที่เป็นออกซิไดซ์ซิงเอเจนต์ (W04)  ของเสียที่เป็นรีดิวซ์ซิงเอเจนต์ (W05) ของเสียที่เป็นสารปรอท (W06)  ของเสียที่มีโครเมียม (W07)  ของเสียที่เป็นอาร์เซนิก (W08)  ของเสียที่เป็นไอออนของโลหะหนักอื่นๆ (W10)  และขวดแก้วสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว (W19)
         กลุ่ม ชป. ทดสอบตัวอย่างเชื้อเพลิงเหลว และเชื้อเพลิงแข็ง ทำให้เกิดของเสียประเภทของเสียที่เป็นเบส (W02) ของเสียที่เป็นสารไวไฟ (W15) และของเสียที่เป็นสารพิษ (W18) โดยของเสีย W02 ทำการ neutralize ให้มีสภาพเป็น กลางก่อนแล้วจึงทิ้งท่อน้ำและของเสียW15ที่เกิดจากการทดสอบน้ำมันจะบรรจุใส่ถังปี๊บ แล้วส่งกำจัดที่บริษัทอุตสาหกรรมน้ำมันไทย ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายส่วนของเสียอื่นๆเก็บรวมรวบรอส่งกำจัดต่อไป        
          กลุ่ม ผค. ทดสอบตัวอย่างสารฆ่าเชื้อ สารเคมีที่ใช้เป็นตัวทำละลาย แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ กาวยาแนว ไม้ เมนทอล แผ่นพอลิเอสเตอร์เสริมใยแก้ว สิ่งทอ พลาสติก จุกนมยาง และเครื่องสำอาง ทำให้เกิดของเสียประเภทของเสียที่เป็นสารไวไฟ (W15) ของเหลวอินทรีย์ที่ประกอบด้วยน้ำมากกว่า 5% (W16) ของเสียที่เป็นไอออนของโลหะหนักอื่นๆ (W10) ขวดแก้วสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว (W19) เครื่องแก้วและขวดสารเคมีที่แตก (W20)  และขยะปนเปื้อนสารเคมี (W21) ซึ่งถูกเก็บในภาชนะปิดมิดชิด พร้อมติดฉลากของเสียที่ภาชนะบรรจุ และมีการบันทึกข้อมูลการบรรจุของเสีย เพื่อใช้เป็นขอมูลในการส่งกำจัดต่อไป
          กลุ่ม คค. ทดสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์เซรามิกทำให้เกิดของเสียประเภทของเสียที่เป็นกรด (W21) ของเสียที่มีไซยาไนด์ (W21) ของเสียที่เป็นฮาโลเจน (W21) ของเสียที่เป็นสารไวไฟ (W21) ของเหลวอินทรีย์ที่ประกอบด้วยน้ำมากกว่า 5%(W21) ของเสียที่เป็นสารพิษ (W21) ขวดแก้วสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว (W21)  เครื่องแก้วและขวดสารเคมีที่แตก (W21)  และขยะปนเปื้อนสารเคมี (W21) ถูกเก็บในภาชนะปิดมิดชิด  ซึ่งกลุ่ม คค.       มีแผนการปรับปรุงการจัดแยกประเภทและจัดเก็บของเสียอันตรายภายในห้องปฏิบัติการ ดังนี้ ทำการจัดแยกประเภทและจดบันทึกข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้ในงานวิเคราะห์ทดสอบจัดเก็บของเสียในห้องปฏิบัติการให้เป็นสัดส่วนแล้วรายงานข้อมูลของเสียที่ต้องส่งกำจัดให้กับคณะทำงานเพื่อรวบรวมไปกำจัดยังหน่วยงานภายนอก