KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

กลุ่ม COP เคมีสร้างสรรค์ มีการจัดกิจกรรมของกลุ่มจำนวน  4  ครั้ง มีรายละเอียดดังนี้.-

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 ณ ห้อง 312 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ มีการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การทบทวนและจัดทำเอกสารระบบคุณภาพของโครงการเคมี”

เปิดพิธีฝึกอบรมฯ โดย นางวรรณภา ตันยืนยงค์  รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโครงการเคมี

 

 นว.ชช นีระนารถ แจ้งทอง ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบเอกสารคุณภาพของโครงการเคมี

 

แบ่งกลุ่มทบทวนระบบเอกสารคุณภาพของโครงการเคมีและจัดทำมาตรฐานวิธีดำเนินการของแต่ละกลุ่ม

  

นำเสนอผลงานหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ

          จากการอบรมเชิงปฏิบัติการทำให้ผู้ปฏิบัติงานในระบบคุณภาพมีความรู้ความเข้าใจในระบบคุณภาพเพิ่มมากขึ้น บุคลากรใหม่ที่พี่งเข้ามาหรือกำลังจะเข้ามาทำงานในระบบคุณภาพมีโอกาสซักถามและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารระบบคุณภาพ บุคลากรเดิมในระบบคุณภาพมีโอกาสในการทบทวนเอกสารระบบคุณภาพ ทำให้มีการปฏิบัติงานเป็นไปในแนวทางเดียวกันสามารถนำระบบคุณภาพไปใช้ได้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 ณ ห้อง 320 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ มีการถ่ายทอด 2 เรื่องได้แก่ เรื่อง Live and learn in York และ  How to survive American graduate schools

พิธีเปิดโดย นว.ชพ. สุจินต์ พราวพันธุ์ รักษาการผู้อำนวยการโครงการเคมี

 

เรื่อง Live and learn in York

โดย นว.ปก. หนึ่งฤทัย แสแสงสีรุ้ง

งานวิจัย: High-throughput methods of the analysis of pigments in aquatic sediments

ศึกษาปริญญาเอกที่ University of York ประเทศสหราชอาณาจักร การทำวิจัยในเรื่อง High-throughput methods of the analysis of pigments in aquatic sediments โดยใช้วิธีทดสอบตัวอย่างด้วยเทคนิคการสกัดตัวอย่างที่เพิ่มความดันและอุณหภูมิ จากนั้นวิเคราะห์ด้วยเทคนิค UHPLC-MSn ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถทำการทดสอบได้อย่างรวดเร็ว

ปัญหาอุปสรรคที่นักศึกษาไทยมักจะเจอในช่วงแรกคือ ปัญหาด้านภาษา การคิดถึงบ้าน การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ๆ และปัญหาด้านสุขภาพ นักศึกษาจึงควรทำกิจกรรมในช่วงว่างจากการเรียน เช่น เดินทางท่องเที่ยว พบประสังสรรค์กับเพื่อนทั้งไทยและต่างชาติ ออกกำลังกาย เช่นเดิน วิ่ง โบว์ลิ่ง แบดมินตัน หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจ เพื่อช่วยในการปรับตัวทั้งทางด้านการใช้ชีวิตประจำวัน สังคม และการเรียน

            โดยสรุปแล้วการได้ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศครั้งนี้ ทำให้มีโอกาส ได้รู้ ได้เห็น ได้ฝึกหัดทำในสิ่งใหม่ๆ ได้ความรู้ทางวิชาการเพิ่มเติม ได้เรียนรู้ผู้คน และที่สำคัญ คือ ได้เรียนรู้ตัวเอง

 

เรื่อง How to survive American graduate schools

โดย นว.ปก. โอบเอือิมวิทยา

งานวิจัย:

  1. M.S. Thesis (University of Arkansas at Little Rock): Synthesis and Characterization of Highly Conductive Polypyrrole and Polypyrrole/Lignosulfonate/Graphite Composites

  2. Ph.D. Dissertation (Florida State University): Characterization of Soil Organic Phosphorus and Carbon by 31P and 13C Nuclear Magnetic Resonance Spectroscopy and Liquid Chromatography-Mass Spectrometry

การเตรียมตัวก่อนไปเรียนต่ออเมริกา

  • การสอบภาษาอังกฤษ

  • ฤดูกาลในอเมริกา

  • บุคลิกลักษณะของคนอเมริกัน

  • การเลือกมหาวิทยาลัย(ควรสมัครไว้อย่างน้อย 2 – 5 มหาวิทยาลัย)

การปรับตัวเมือไปถึงอเมริกา

  • ติดต่อ สำนักงานดูแลนักเรียนไทยใน DC, international advisor, อาจารย์และผู้ดูแล นร. ในภาควิชา
  • ติดต่อที่พัก apartment, dorm, house และutilities
  • เปิดบัญชีธนาคารแบบ student account & saving account
  • ศึกษาการเดินทางไปสถานทีต่างๆ
  • ปฐมนิเทศ และดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆ เช่น บัตรนักศึกษา

  ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย& ระบบการศึกษาอเมริกัน

  • Semesters (Fall, Spring, Summer)
  • Quarters (Fall, Winter, Spring, Summer)
  • พูดสัมมนา 1–2 ครั้ง ในภาควิชา
  • เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างเป็นทางการภายใน 1 ปี
  • สอบผ่าน comprehensive exams
  • Dissertation defense

 

คร้งที 3 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2558 ณ ห้อง 320 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ มีการถ่ายทอด 4 เรื่อง ดังนี้

เรื่องที่ 1  การประขุม The 5thASEAN Food Testing Laboratories Committee (AFTLC)  The 19thPrepared Foodstuff Product Working Group (PFPWG) และการดูงานห้องปฏิบัติการของ National Health Laboratory, Department of Health, Ministry of Healthณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 1 – 4 กันยายน 2557 โดย นว.ชพ. วันดี  ลือสายวงศ์และ นว.ปก. อนุตตรา นวมถนอม

            การประชุมThe 5thASEAN Food Testing Laboratories Committee (AFTLC)   

       ในการประชุมนี้มีประเทศที่เข้าร่วม จำนวน 10 ประเทศ คือ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ประเทศกัมพูชา ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศฟิลิปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม รวมทั้งผู้แทนเลขาธิการอาเซียน โดยวาระการประชุมที่เกี่ยวข้องกับ วศ. คือ วาระที่ 5 : ASEAN FOOD REFERENCE LABORATORY (AFRLs) ซึ่งมีวาระย่อย 5.2 เรื่อง Establishment of New AFRLs ซึ่งในวาระย่อยนี้Mrs. Angela Li เป็นผู้แทนของMs. Joanne Chan ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสิงคโปร์ที่เดินทางมาตรวจเยี่ยม (On-site visit) ห้องปฏิบัติการวัสดุสัมผัสอาหารด้านพลาสติก โลหะ เซรามิกและแก้ว รวมทั้งศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญ และสำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งเป็นขั้นตอนของการจัดตั้งห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนทางด้านวัสดุสัมผัสอาหาร ได้รายงานผลการตรวจเยี่ยมดังกล่าวว่า หน่วยงานของกรมวิทยาศาสตร์บริการสามารถจัดตั้งเป็น“ห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนทางด้านวัสดุสัมผัสอาหาร” ตามรายงานฉบับสมบรูณ์ (Full Assessment Report) จากนั้นที่ประชุมฯ ได้มีมติให้การรับรองอย่างเป็นทางการในการเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนในด้านวัสดุสัมผัสอาหาร ตามขอบข่ายที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งประกอบด้วย 5 ขอบข่าย ดังนี้

  1. พลาสติก
  2. โลหะและโลหะผสม
  3. เซรามิก
  4. แก้ว
  5. วาร์นิชและสารเคลือบ (varnishes and coatings)

       สำหรับซิลิโคน ซึ่งเป็นขอบข่ายที่อยู่ในระหว่างรอหลักฐานใบรับการรับรองจากAccreditation body ที่ประชุมฯ มีมติจะรับรองอย่างเป็นทางการเมื่อมีการส่งหลักฐานการรับรองฯ ไปยังAFTLC และนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป สำหรับช่วงสุดท้ายของวาระย่อยนี้ที่ประชุมฯ มีมติให้เสนอการจัดตั้งNew AFRLs ในการประชุม19th PFPWG เพื่อให้การรับรองอย่างเป็นทางการ ซึ่งการเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนในด้านวัสดุสัมผัสอาหาร มีระยะเวลา 5 ปีและต้องรายงานกิจกรรมที่ดำเนินการต่างๆ ตามที่ระบุใน Terms of Reference (ToR) ในที่ประชุม AFTLC

           การประชุมThe 19thPrepared Foodstuff Product Working Group (PFPWG)

       การประชุมนี้มีประเทศที่เข้าร่วมการประชุม จำนวน 10 ประเทศเช่นกัน รวมทั้งผู้แทนเลขาธิการอาเซียน  ซึ่งมีวาระการประชุมที่เกี่ยวข้องกับ วศ. คือ การประชุมวาระที่ 8 REPORT OF THE ASEAN FOOD TESTING LABORATORY COMMITTEE โดยประธาน AFTLC รายงานที่ประชุมเรื่องผลการประชุม The 5th AFTLC โดยเน้นผลของการตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการที่เสนอตัวเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนจำนวน๓แห่ง ที่ประชุมได้มีการทบทวนรายงานผลการตรวจเยี่ยมของทีมผู้เชี่ยวชาญและมีมติเห็นชอบตามที่ประชุม AFTLC โดยที่ประชุม PFPWG มีมติรับรองห้องปฏิบัติการต่อไปนี้ให้เป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนใหม่

  1. National Quality Control Laboratory of Drug and Food, Indonesia as AFRL for Food Additives
  2. Department of Science Services, Thailand as AFRL for Food Contact Materials.
  3. Veterinary Public Health Center, Agri-Food & Veterinary Authority, Singapore as AFRL for Environmental Contaminants.

ซึ่งคณะทำงาน ACCSQ-PFPWG จะรายงานมติที่ประชุมดังกล่าวในที่ประชุม ACCSQ ครั้งที่ 42 ในวันที่ 22-27กันยายน 2557 หลังจากนั้นจะมีรายชื่อห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนในด้านวัสดุสัมผัสอาหารและสาขาใหม่อีก 2 ด้านในเว็บไซต์ของอาเซียนต่อไป

ผลที่ได้รับสำหรับโครงการเคมี

ห้องปฏิบัติการ 2 แห่งของโครงการเคมีได้เป็นส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนในด้านวัสดุสัมผัสอาหาร

การดูงานห้องปฏิบัติการของ National Health Laboratory, Department of Health, Ministry of Health(ขอข้อมูลจาก ดร. อนุตตรา)

เรื่องที่ 2 การเข้าเยี่ยมชม Reference Laboratory for Food Contact Materials ณ เมือง Ispra และการประชุม International Conference Food Contact Compliance ณ เมือง Baveno ประเทศสาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ 20-28 กันยายน 2557 โดย นว.ชพ. วันดี  ลือสายวงศ์

 

การเข้าเยี่ยมชม European Union Reference Laboratory for Food Contact Materials ณ เมืองIspra

       การเข้าเยี่ยมชม EURL FCM ได้พบ Dr. Catherine Simoneau ผู้อำนวยการ EURL FCM และ Dr. Eddo Hoekstra ผู้จัดการโครงการ โดย Dr. Catherine Simoneau ได้บรรยายภาพรวมของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการออกกฎหมาย การควบคุมและการกำกับดูแลเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงด้านอาหารและบรรจุภัณฑ์ การกำกับดูแลและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการกับห้องปฏิบัติการอ้างอิงแห่งชาติในการตรวจเรื่องอาหาร การออกมาตรฐานต่างๆ และการเป็นหน่วยงานบริการทางวิชาการของ EURL FCM ที่สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับวัสดุสัมผัสอาหารเพื่อการวางนโยบายในเรื่องที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป

       จากนั้นเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการทดสอบวัสดุต่างๆ กับ Dr. Eddo Hoekstra และสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่ EURL FCM กำลังดำเนินการอยู่ โดย Dr. Catherine Simoneau ได้ให้ข้อมูลว่าปีนี้กำลังดำเนินการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญรายการโลหะหนักต่างๆ ในพลาสติกและเซรามิกส์ หาก วศ. มีความสนใจ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวในฐานะของห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนด้านวัสดุสัมผัสอาหาร และ Dr. Catherine Simoneau ได้เสนอการเข้าเยี่ยม EURL FCM ปีเว้นปีเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและพัฒนาความร่วมมืออย่างต่อเนื่องต่อไป นอกจากนี้ Dr. Catherine Simoneau ได้นำชมห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น

- ห้องปฏิบัติการที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับสาร Non Intentional Added Substances (NIAS) ในพลาสติกโดยเทคนิค

  GC-MS-ToF MS

- ห้องปฏิบัติการทดสอบโลหะหนักโดยเทคนิค ICP-MS

- ห้องปฏิบัติการทดสอบสารอินทรีย์อื่นๆ ในพลาสติกโดยเทคนิค GC-MS และ LC-MS

                

การประชุม International Conference Food Contact Complianceณ เมือง Baveno

          การประชุมนี้เป็นการประชุมครั้งแรกที่จัดโดย KELLER AND HECKMAN LLP และการสนับสนุนจากภาคเอกชน การประชุมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การอบรมเชิงปฏิบัติการในวันที่ 24 กันยายน 2557 และการประชุมวิชาการในวันที่ 25-26 กันยายน 2557

การอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับ

  - ฐานข้อมูลของกฎหมายในประเทศต่างๆ เกี่ยวกับวัสดุสัมผัสอาหาร สารเติมแต่งอาหาร (food additives) สาร

    ปนเปื้อน (contaminants) เป็นต้น

  • ฐานข้อมูลของสารเคมีที่ใช้ในวัสดุสัมผัสอาหารของสหภาพยุโรป

  • การเป็นไปตาม (conformity) ของกระดาษและกระดาษแข็งสำหรับสัมผัสอาหาร

  • การร้องขอ (petitioning) ในสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป

  • การส่งออกในประเทศไทยและประเทศในอาเซียน โดย นางสุมาลี ทั่งพิทยกุล รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งได้บรรยายเกี่ยวกับการเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนด้านวัสดุสัมผัสอาหารของ วศ. ด้วย

การประชุมวิชาการเป็นการบรรยายที่แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ

  – ส่วนที่ 1 กฎหมายต่างๆ ในสหภาพยุโรป

  – ส่วนที่ 2 สาร Non Intentional Added Substances (NIAS) และเรื่องอื่นๆ

  – ส่วนที่ 3 European Food Safety Authority (EFSA)

  – ส่วนที่ 4 กฎหมายนานาชาติที่สำคัญ 

                      

เรื่องที่ 3 การเข้าร่วมการอบรมหลักสูตร Environmental and Health Risk Assessment and management of Toxic Chemicals ระหว่างวันที่ 6–18 ธันวาคม 2557 จัดโดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ณ ห้อง R606 ชั้น 6 อาคารบริการ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดย นว.ชพ. วันดี  ลือสายวงศ์

              

       การอบรมหลักสูตรนานาชาติครั้งนี้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์โดยรับการสนับสนุนจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการการจัดการ และการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเริ่มจากการระบุอันตราย วิธีการประเมิน แนวคิดที่พัฒนาขึ้นมาด้วยโครงแบบที่กำหนดที่เกี่ยวกับมนุษย์และกลไกการออกฤทธิ์ (mode of action) ค่าความไม่แน่นอนที่มีอยู่ในแต่ละขั้น ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงตลอดจนถึงความจำเป็นสำหรับขั้นตอนดำเนินการที่ยอมรับได้แบบมีส่วนร่วม โปร่งใสและเปิดเผย และวิธีการสื่อสารที่เชื่อถือได้

           การอบรมมุ่งเน้นเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพที่ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อมนุษย์ที่ได้รับสัมผัสอันตรายทางสิ่งแวดล้อม และเรื่องการประยุกต์ใช้วิธีการประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ รวมถึงการประยุกต์ใช้ขั้นตอนดำเนินการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของความเสี่ยงที่ประเมินและระบุไว้

          การอบรมหลักสูตรนานาชาติครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการอบรมจากประเทศต่างๆ 11 ประเทศ จำนวน 15 คน คณะวิทยากรเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และต่างประเทศ หลักสูตรการอบรมแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

Part I: Fundamentals of Risk Assessment เป็นการบรรยายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ

  • ผลลัพธ์ของการที่สารอันตรายเข้าไปในร่างกาย และปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ
  • เครื่องมือในการศึกษาการประเมินความเสี่ยงของ WHO Human Health Risk Assessment Toolkit จัดทำโดย WHO และ Electronic Distance Learning Tool (eDLT) จัดทำโดยสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • การวิเคราะห์ความเสี่ยง (risk analysis) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือการประเมินความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง และการสื่อสารความเสี่ยง โดยหลักสูตรอบรมนี้เน้นการประเมินความเสี่ยงที่ประกอบด้วย
  • ขั้นตอนที่สำคัญคือ การระบุอันตราย (Hazard identification) การประเมินการตอบสนองตอปริมาณการได้รับ   (Dose-Response Evaluation) การประเมินการได้รับสัมผัส (Exposure Assessment) และการแสดงลักษณะเฉพาะของอันตราย (Hazard characterization)
  • กฎ ระเบียบ มาตรฐาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น REACH
  • การฝึกภาคปฏิบัติโดยการแบ่งกลุ่มเพื่อทำกรณีศึกษาและแบบฝึกหัด

P­art II: Problem Formulation, Mode of Action & Human Relevance Framework เป็นการบรรยายเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ

  • การศึกษาปัญหา (Problem Formulation) และโครงแบบที่กำหนดที่เกี่ยวกับมนุษย์และกลไกการออกฤทธิ์
  • การฝึกภาคปฏิบัติโดยการแบ่งกลุ่มเพื่อทำกรณีศึกษาเกี่ยวกับการใช้ WHO etoolkit on Human Health Risk  Assessment

การเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการประเมินความเสี่ยง โดยความรู้ที่ได้รับสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการประเมินความเสี่ยงสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับสัมผัสจากสารเคมีอันตรายในห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นของการจัดการสารเคมีที่ดี 

เรื่องที่ 4 การประชุม Strategic Approach to International Chemicals Management (SAICM) : The Second Meeting of the Open-ended Working Group of the International Conference on Chemicals Management (OEWG2) ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส  ระหว่างวันที่ 14 – 17 ธันวาคม 2557 โดย นว.ชพ.ดวงกมล เชาวน์ศรีหมุด

ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คนประกอบด้วย

  • คณะผู้แทนรัฐบาลจาประเทศต่างๆ ในแต่ละภูมิภาค
  • หน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ
  • องค์กรระหว่างประเทศ
  • องค์กรพัฒนาเอกชน
  • ภาคอุตสาหกรรม

 

สรุปสาระจากการประชุม

ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายของ SAICM ในปี 2563 เช่น

  • การลดความเสี่ยงของสารเคมีต่อสุขภาพอนามัยต่อคนและสิ่งแวดล้อม
  • การจัดการความรู้ และการถ่ายทอดความรู้ด้านการจัดการสารเคมีและความเป็นอันตรายของสารเคมี
  • การกำกับดูแลและการพัฒนานโยบายด้านการจัดการสารเคมี การจัดการของเสียอันตราย

ยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุข

            ผู้แทนองค์การอนามัยโลก นำเสนอผลการดำเนินงานของด้านสาธารณสุขที่สนับสนุนเพื่อบรรลุเป้าหมายของ SAICM ระหว่างปี 2554 – 2556 ประกอบด้วย การสร้างความตระหนักด้านการจัดการสารเคมีอย่างเหมาะสมในด้านสาธารณสุข การพัฒนาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของสารเคมีต่อสุขภาพ พัฒนาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของสารเคมีต่อสุขอนามัยของมนุษย์และการประเมินความเสี่ยง

แนวปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายของ SAICM ในปี 2563

ผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการฯ ได้นำเสนอรายละเอียดของกิจกรรม จำนวน 11 กิจกรรม คือ       

2.1 Legal frameworks that address the life cycle of chemicals and waste

2.2 Nation, sub-regional and regional enforcement and compliance mechanisms

2.3 Implementation of relevant international convention

2.4 Strong institutional frameworks and coordination mechanism among relevant stakeholders

2.5 Collection and systems for the sharing of data and information  among relevant stakeholders using life-cycle approach

2.6 Industrial participation and responsibility including cost recovery policies and systems as well as the incorporation of sound chemicals management in corporation policies and practices

2.7 Implementation of Globally Harmonized system of Classification and Labelling of Chemicals

2.8 Inclusion of chemicals in national budgeting process and development plan

2.9 Chemicals risk assessment through the use of best practices

2.10 Strengthened capacity to deal with chemicals accidents, including poisoning

2.11 Monitoring and assessing the impacts of chemicals on health and the environment

นโยบายเร่งด่วนและประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตะกั่วในสี

            WHO ได้รายงานผลการประชุม Global Alliance to Eliminate Lead paint และกิจกรรมที่ดำเนินการภายหลังการประชุม ICCM3 และขอให้แต่ละประเทศส่งรายงานกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตะกั่วในสี นอกจากนี้ที่ประชุมได้ให้ความเห็นว่าสีที่มีการปนเปื้อนตะกั่วจะสามารถควบคุมได้ได้ในภายในปี 2563

นาโนเทคโนโลยีและการผลิตวัสดุนาโน

            ฝ่ายเลขาฯ นำเสนอความก้าวหน้าด้านนาโนเทคโนโลยีและการผลิตวัสดุนาโน เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประเมินความเสี่ยงและมาตรการลดความเสี่ยง งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การพัฒนาแนวทางด้านเทคนิค แนวทางการกำกับดูแลและคู่มือการฝึกอบรมในการจัดการการผลิตวัสดุนาโนอย่างเหมาะสม

สารเคมีในผลิตภัณฑ์

            UNEP นำเสนอร่างโครงการสารเคมีในผลิตภัณฑ์ กรณีภาคธุรกิจที่ต้องรู้ข้อมูลสารเคมีในผลิตภัณฑ์และสารเคมีในตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีประโยชน์ พร้อมกันนี้ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากประเทศจีน ที่ศึกษาสารเคมีในผลิตภัณฑ์สิ่งทอ และขณะนี้กำลังศึกษาสารเคมีในหมึกพิมพ์และสีย้อม

 

ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 ณ ห้อง 320 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ มีการถ่ายทอด 2 เรื่อง ได้แก่

เรื่องที่การศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 26 – 29  สิงหาคม 2557 โดย นว.ชพ. จิรสา กรงกรดและคณะ

 

   

       คณะได้เข้าเยี่ยมชมสถาบัน 1.Health Sciences Authority (HAS) เกิดขึ้นจากการรวมตัวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของ Ministry of Health (MOH) ของสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อปี ค.ศ.2001 โดยมีจุดประสงค์หลักให้มีการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ร่วมกัน นอกจากนี้ HSA มีความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศทั้งประเทศในทวีปยุโรป อเมริกา เอเชีย และออสเตรเลีย อีกทั้งยังมีความร่วมมือเป็นอย่างดีกับ World Health Organization (WHO) ในด้านยา อาหาร และยาสูบ (บุหรี่) ปัจจุบันมี 4 หน่วยงานที่อยู่ภายใต้กำกับของ HAS ได้แก่ 1. Blood Services Group2. Health Product Regulation Group3. Corporate Servicesและ 4. Applied Sciences Group

ซึ่งห้องปฏิบัติการที่คณะเดินทางจะเข้าไปเยี่ยมชมอยู่ภายใต้หน่วยงาน Applied Sciences Group ได้แก่

- Food Safety Laboratory มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสองกลุ่มด้วยกัน คือ งานด้านน้ำ (Water Section) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิง (reference laboratory) ในการตรวจติดตามคุณภาพน้ำ ทั้งน้ำดิบ น้ำที่ได้รับการบำบัดและ และคุณภาพของน้ำเสีย กลุ่มที่สอง คือ งานด้านอาหาร (Food Section) มีหน้าที่ออกข้อกำหนดความปลอดภัยด้านอาหาร และทดสอบความปลอดภัยของอาหาร (ซึ่งรวมถึงกระบวนการผลิตอาหาร และวัสดุสัมผัสอาหาร)โดย HSA มีการทดสอบทั้ง overall migration และ specific migration ของ โลหะหนัก PAA PAH โดย HSA จะรับตัวอย่างบางส่วนจากทั้งหน่วยงานของรัฐ หรือจากห้องปฏิบัติการของเอกชน นอกจากนี้ยังได้เข้าชมเครื่อง UPLC-MSn, GC-MS/MS, ICP-MS, isotope ratio mass spectrometer และ LC-ICP-MS

- Cosmetics Laboratory เป็นหน่วยงานภายใต้ Pharmaceutical Divisionเน้นการทดสอบแบบ Post market คือ ไปสุ่มตัวอย่างเครื่องสำอางที่มีวางจำหน่ายจริงในสิงค์โปร เพื่อมาทดสอบ หากพบว่าตัวอย่างมีสารต้องห้ามปนเปื้อน จะมีขั้นตอนการเตือนหาผู้บริโภค หรือเพื่อห้ามวางจำหน่ายเครื่องสำอางนั้นๆ

- Chemical Metrology Laboratory ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของ Health Sciences Authority (HAS) ณ ตึก Capricorn Science Park II อยู่ภายใต้กลุ่ม Analytical Science เหมือนกับ Food Safety Division และแบ่งงานด้านมาตรวิทยาเคมีออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ Inorganic Chemistry,Organic Chemistry - PT/CRM Unit

             หน้าที่ในปัจจุบันของหน่วยงานคือ การพัฒนาศักยภาพด้านมาตรวิทยาเคมีในด้าน Healthcare Food, Pharmaceutical&Health Products และ การยืนยันโครงสร้างและหาความบริสุทธิ์ของสารเคมีอินทรีย์, ให้บริการงานด้านมาตรวิทยากับห้องปฏิบัติการทดสอบ เช่น การจัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (Proficiency Testing) และ External Quality assessment     การผลิตวัสดุอ้างอิง (CRMs) การให้ค่าจริงของวัสดุอ้างอิง (Reference Materials), การเข้าร่วมเปรียบเทียบผลการทดสอบทั้งระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศ, จัดการอบรมด้านความไม่แน่นอนของการวัด และสถิติสำหรับ PT, ประชาสัมพันธ์งานดานมาตรวิทยาเคมีของหน่วยงานโดยการเข้าร่วมสัมมนา เป็นต้น

             ห้องปฏิบัติการด้านมาตรวิทยาเคมี ของฝ่าย Inorganic Chemistry และ Organic Chemistry เป็นห้องคลีนรูมที่แยกกันอย่างชัดเจน กระทั่งเจ้าหน้าที่ในแต่ละฝ่ายก็จะมีชุดแต่งกายที่ใช้สวมทับคนละสี ห้องปฏิบัติการของฝ่าย Inorganic Chemistry จะมีความพิเศษกว่า Organic Chemistry คือ จะเป็นห้องปฏิบัติการที่ น๊อต ปลั๊กไฟ โต๊ะทำแล็ป เก้าอี้ อุปกรณ์ต่างๆ แม้กระทั่งเครื่องดูดควันจะทำมาจากโพลีโพพิลีน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของโลหะลงในวัสดุอ้างอิงที่เตรียม    

             - ด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ มีอุปกรณ์ล้างตา ล้างตัว (ที่มีการตรวจสอบการใช้งานทุกๆ ปี) และอุปกรณ์ดูดควันอย่างเพียงพอสำหรับทุกเครื่องมือ อีกทั้งห้องปฏิบัติการนี้ได้ผ่านข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ก่อนที่จะเปิดดำเนินงาน

             - มีการแยกของเสียจากห้องปฏิบัติการเพื่อส่งบริษัทรับกำจัดของเสียที่มีสัญญากับ HSA โดยของเสียโดยทั่วไปจากการเตรียมตัวอย่างจะถูกส่งกำจัดทุกวันจึงทำให้ไม่มีของเสียสะสมในห้องปฏิบัติการ ส่วนของเสียเฉพาะที่มีปริมาณไม่มากจะถูกเก็บไว้จนเต็มภาชนะบรรจุแล้วจึงแจ้งให้บริษัทรับกำจัดของเสียมาเก็บไป

             2. บริษัท Intertekเป็นบริษัทที่ให้บริการทดสอบด้านผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันหล่อลื่น สถานที่ตั้งอยู่ใน Jurong Island Estate ที่ตั้งอยู่บนเกาะ Jurong ซึ่งเป็นเกาะที่สิงคโปร์สร้างขึ้นมา และเป็นเกาะที่ใช้เป็นศูนย์รวมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และคลังน้ำมันที่มีขนาดใหญ่

             - หน้าที่หลักของห้องปฏิบัติการ Intertek ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ คือ ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบคุณสมบัติทั้งด้านฟิสิกส์ และเคมี รวมถึงองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันเชื้อเพลิง และ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ

             - เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่พบในห้องปฏิบัติการนี้ พบว่า มีทั้งเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้สำหรับหาคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำมัน เช่น เครื่องหาจุดวาบไฟ (Flash Point) เครื่องหาความหนืดของน้ำมัน (Viscosity) และเครื่องมือสำหรับหาองค์ประกอบทางเคมี เช่น เครื่อง ICP-MS และ Mercury analyzer ที่ใช้สำหรับหาโลหะหนัก และเครื่อง GC และ GC-MS สำหรับหาองค์ประกอบของน้ำมัน - ระบบงานด้านการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน โดยผู้ที่รับผิดชอบงานด้านคุณภาพการวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นคนที่ดูภาพรวมและวางระบบควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการเท่านั้นโดยไม่ได้ทำหน้าที่ให้บริการวิเคราะห์ทดสอบ ถึงเวลาเครื่องมือตัวไหนต้องสอบเทียบก็จะแจ้งเตือนมายังห้องปฏิบัติการ หรือการทดสอบตัวไหนจำเป็นต้องขอ ISO17025 ก็จะพิจารณาและวางแผนการขอการรับรองให้กับผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น

             3. สถาบัน Spring  เป็นหน่วยงานด้านการมาตรฐานของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ซึ่งทำหน้าที่ออกข้อกำหนด และกฎเกณฑ์ด้านคุณภาพสินค้าและบริการภายในประเทศ เช่น สารเคมี อุตสาหกรรมก่อสร้าง ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เทคโนโลยีด้านข้อมูล เทคโนโลยีทางยา วิศวกรรมและความปลอดภัย อาหาร ระบบการจัดการท่องเที่ยว และการบริการด้านงานแสดงสินค้า สิ่งแวดล้อม พลังงาน และการพัฒนาด้านพลังงานอย่างยั่งยืน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เป็นต้น รวมถึงวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของ SPRING เนื้อหาโดยสรุปพบว่า

            

4. Agri-Food & Veterinary Authority of Singapore (AVA) เป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหาร มีการตรวจอาหารเพื่อให้ใบอนุญาตก่อนจะมีการนำเข้ามาจำหน่ายในสาธารณรัฐสิงคโปร์ และมีการสุ่มตรวจทดสอบอาหารที่มีอยู่จำหน่ายในตลาดจริงเพื่อให้แน่ใจว่า อาหารที่ใช้ในการบริโภคในสิงค์โปรมีความปลอดภัยอย่างแท้จริงได้ นอกจากนี้ยังเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทดสอบการปนเปื้อนของอาหาร:การหาโลหะหนักปนเปื้อนในอาหารด้วยเครื่อง ICP-MS Mercury Analyzer และการทดสอบหาไดออกซิน (Dioxin) ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร หลักการวิเคราะห์แบ่งเป็นสองส่วนด้วยกันคือ การเตรียมตัวอย่างโดยการสกัด และแยกไดออกซิน ออกจากตัวอย่างด้วยเครื่องเตรียมตัวอย่าง Sample preparation โดยการสกัดไขมันซึ่งไดออกซินละลายอยู่ออกจากตัวอย่างอาหารก่อนด้วยเครื่อง accelerated solvent extraction หลังจากนั้นนำส่วนที่สกัดได้มาผ่านคอลัมน์ เพื่อแยกสารไดออกซินออกมา แล้วจึงนำไปวิเคราะห์ด้วย GC-MS ชนิด Hi-resolution

เรื่องที่ISSS 2014 Live in Prague โดย นว.ปก. พนิดา สิงห์รา และ นว.ปก. วรประภา ศรีโยทัย

       เข้าร่วมงานประชุมวิชาการนานาชาติ “20th International Symposium Sciences on Separation” จัดขึ้นโดย  The Central European Group of Separation Sciences (CEGSS)  ณ เมืองปราก สาธารณรัฐเช็ก ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 2 กันยายน 2557 โดยเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการวิเคราะห์แยกสาร และความก้าวหน้าทางด้านเคมี ซึ่งการเข้าร่วมประชุมได้นำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง “Simultaneous analysis of six phthalates in polyurethane plastic by GC/MS” ในหัวข้อ Gas chromatography  และ เรื่อง “Comparison of two analytical methods for determination of phthalates in nitrocellulose coating on children’s products” ในหัวข้อ Analysis of drugs and toxic compounds

 

นอกจากนี้ได้ศึกษางานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆ ที่น่าสนใจดังนี้.-

เรื่อง “Adsorption of common herbicide bentazone from water onto MCM-41”   โดย Bruzzoniti M. C. และคณะ จาก Department of Chemistry, University of Torino, สาธารณรัฐอิตาลี  ได้ศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับสาร Bentazone ออกจากน้ำโดยใช้วัสดุที่มีรูพรุ่น MCM-41 ทำการศึกษาที่สภาวะ pH แตกต่างกัน แล้วทดสอบหาความเข้มข้นของสาร Bentazone โดยเทคนิค High performance liquid chromatography-ultraviolet (HPLC-UV) พบว่า ที่ pH 2 วัสดุรูพรุ่น MCM-41 สามารถดูดซับสาร Bentazone ได้ดีที่สุด (65 ± 2%) 

เรื่อง “Application of GCxGC-TOF MS for The Determination of Bisphenol A in Waste Water” โดย Čáslavský J. จาก Brno University of Technology, สาธารณรัฐเช็ก ได้นำเสนอการวิเคราะห์หาปริมาณ BPA ในตัวอย่างน้ำเสีย โดยสกัดตัวอย่างโดยวิธี solid phase extraction และนำไปวิเคราะห์โดย GCxGC-TOF MS ซึ่งเป็นเทคนิคที่ได้ค่าการแยกที่ดีและมีค่า LOD ต่ำ ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ ปริมาณ BPA พบในระบบของบ่อกำจัดน้ำเสียอยู่ในค่านาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่มีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

เรื่อง “Gas chromatographic analysis of triterpenoids and phytosterols in plant extracts by using injector port derivatization”   โดย Kitanovski Z. และคณะ จาก Laboratory for Food Chemistry, National Institute of Chemistry, สาธารณรัฐสโลวัก ได้ศึกษาด้วยเทคนิค GC-FID ทั้งแบบ Off-line และ On-line พอร์ตฉีดสาร วิธี Off-line พอร์ตฉีดสารจำเป็นต้องทำในเกิดอนุพันธ์ในขวดเวสเซลก่อนที่จะนำสารเข้าเครื่อง GC ซึ่งวิธีนี้จะใช้เวลาค่อนข้างมาก และเตรียมตัวอย่างยาก ส่วนวิธี on-line พอร์ตฉีดสารใช้เวลาในการเกิดอนุพันธ์น้อย และการเตรียมตัวอย่างค่อนข้างง่าย เนื่องจากจะทำให้เกิดอนุพันธ์สารที่เราสนใจบริเวณพอร์ตฉีดสารทันที แต่ต้องอาศัยเครื่องมือเพิ่มเติมที่ให้ความร้อนแก่พอร์ตฉีดสาร

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมงานประชุมและนำเสนอผลงานทางวิชาการในครั้งนี้ ได้ฝึกพัฒนาทักษะด้านการนำเสนอผลงานวิชาการ, ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นในมุมมองต่างๆ เช่น ได้คำแนะนำ คำชี้แนะ สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาต่อได้, ได้รับรู้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเทคนิคการแยกสารจากผู้เชี่ยวชาญในระดับสากล และเป็นทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์กรมวิทยาศาสตร์-บริการ