KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

รายงานประชุม CoPs กลุ่มเซรามิกสร้างสรรค์

ครั้งที่ 2/2558

วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. 

 

ความก้าวหน้าการพัฒนาเพื่อสร้างทักษะในการทำงาน

 

1. การตกแต่งสีโดยใช้แอร์บรัช  (นว.อินทิราฯ)

            - แอร์บรัชดอกกุหลาบ ดอกลีลาวดี ตกแต่งสีบนเคลือบ

          - แอร์บรัชตุ๊กตา, ดอกกุหลาบ จานลายกาหยู

ปัญหาอุปสรรค

- การใช้แอร์บรัชตกแต่งสีบนเคลือบมีปัญหา ต้องใช้มือทั้งสองข้างในการทำ (จับแอร์บรัช และจับไดร์)  
  ทำให้ไม่สะดวกต่อการทำงาน การแก้ปัญหาคือการใช้แอร์บรัชเปลี่ยนเป็นสีใต้เคลือบ

          - การใช้แอร์บรัชสีจะเข้าไม่ถึงกลีบดอกด้านในลึกๆ  ทำให้ได้สีที่ไม่สม่ำเสมอ

          - การเขียนตาตุ๊กตา ฝึกเปลี่ยนมาหัดใช้พู่กันขนยาว เพื่อให้ได้ลายเส้นออกมาสมจริง

          - เทคนิคการใช้แอร์บรัชกับชิ้นงานแต่ละรูปแบบ

ข้อเสนอแนะ

          - ควรเรียนรู้เรื่องสีที่ใช้พ่นและกลีเซอรีน 

          - ควรคนเนื้อสีที่นอนก้นให้เข้ากันก่อนใช้งาน

2. ทำแบบพิมพ์ดอกไม้ที่ทำจากปูนปลาสเตอร์   (นว.จุติภาฯ)

- ทำแบบพิมพ์ดอกไม้ (ดอกลีลาวดี)  ฝึกหัดการแต่งแบบพิมพ์

- เรียนรู้การปั้นอิสระดอกกุหลาบ จำนวน 2 ดอก

ปัญหาอุปสรรค

- แบบพิมพ์ ยังไม่เหมาะสมกับการใช้งาน ต้องปรับแบบจากเว้าให้โค้งนูน คล้ายดอกจริง

- ต้องเก็บรายละเอียดแบบพิมพ์

ข้อเสนอแนะ

- ควรนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในเรื่องของเนื้อดิน

- ศึกษาจากดอกไม้จริง เพื่อให้เห็นภาพชัด

- แบ่งดินเพื่อให้ได้ความหนาที่เท่ากัน เพื่อให้ได้กลีบดอกพลิ้วสวย

3. การปั้นแป้นหมุน  (นว.ศศิธรฯ)

          - ขึ้นรูปถ้วยและจาน

ปัญหาอุปสรรค

          - การตกแต่งผลิตภัณฑ์จะเกิดการแตก และบิดเบี้ยว

          - มีข้อจำกัดในพื้นที่การทำงาน

ข้อเสนอแนะ

          - การขึ้นรูปควรขึ้นรูปให้มีความหนา สำหรับเผื่อการตกแต่ง

          - ควรใช้น้ำให้น้อย เพื่อจะได้ควบคุมความชื้นได้ดี

          - การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ควรศึกษาข้อมูลในท้องตลาดเพื่อจะได้มีมาตรฐานในการอ้างอิง

4. การจัดทำคู่มือการเผา และสามารถสอน วรวิทย์ และ นรินทร ให้เผาเตาได้ (นว.ฉัตรชัยฯ)

ปัญหาอุปสรรค

          - คู่มือที่ใช้ในการสอนยังไม่เสร็จสมบูรณ์  (จะทำคู่มือให้เสร็จ ภายในเดือน กุมภาพันธ์)

          - ผู้เรียนขาดการจดบันทึก

          - ผู้เรียนไม่เกิดความสนใจในการฟังทฤษฎี  โดยจะสนใจในภาคปฏิบัติมากกว่า

ข้อเสนอแนะ

          - ควรทำคู่มือให้ละเอียดเพียงพอสำหรับการใช้งาน โดยแยกการใช้งานของแต่ละเตาให้ชัดเจน

          - คู่มือควรมีการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของผู้เรียน

          - ควรปรับการทำงานให้ได้ตามแผน