KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

การบูรณาการความรู้ [วศ.ชป. 17/2558]

(วช. กับการพัฒนาชุดทดสอบ Coli. Count.)

วันที่: 18 พ.ค. 58

วัตถุประสงค์:

1. เพื่อนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้

2. เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรู้ต่างๆ ของบุคลากร วช.

เนื้อหา: นว.สุลาวดี เขียวชม ได้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุดทดสอบ โดยเริ่มตั้งแต่ แรงจูงใจแรกที่สนใจศึกษาและเลือกวิธีวิเคราะห์นี้ รวมไปถึงขั้นตอนและวิธีการเตรียมชุดทดสอบ Coli. Count. ดังนี้

 

การเตรียมกระดาษทดสอบ ทำได้โดยตัดกระดาษทดสอบให้ได้ขนาดตามต้องการ ฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันไอน้ำที่อุณหภูมิ 121องศาเซลเซียส นาน 15นาที จากนั้นนำมาอบให้แห้งที่อุณหภูมิไม่เกิน 55องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1วัน เมื่อได้กระดาษทดสอบปลอดเชื้อแล้วนำมาชุบด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อนานประมาณ 3วินาที วางกระดาษทดสอบลงบนจานเพาะเชื้อใหม่ที่ปลอดเชื้อ นำไปอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 50องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1วัน หรือจนแห้งสนิท (ขึ้นกับจำนวนกระดาษทดสอบที่เตรียมในแต่ละครั้ง) นำกระดาษทดสอบใส่ถุงพลาสติกใสด้วยวิธีปลอดเชื้อ และเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 4-10องศาเซลเซียส ในที่พ้นแสงหรือห่อด้วยกระดาษทึบแสง พร้อมทั้งสาธิตวิธีการใช้งานชุดทดสอบ Coli. Count. ที่ถูกต้องและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ชาว วช. และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่นได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

เนื่องด้วยภารกิจที่ชาว วช. ได้รับมอบหมายเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ทั้งในจังหวัดทางภาคเหนือและภาคกลางนั้น ในการลงพื้นที่เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ในแต่ละครั้ง ชาว วช. ก็ได้นำชุดทดสอบ Coli. Count. นี้ไปเผยแพร่และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเพื่อใช้ตรวจเช็คน้ำอุปโภค-บริโภค ในเบื้องต้นอีกด้วย

 

รายละเอียดกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

          วันที่ 20 ม.ค. 58 จ.พิษณุโลก จัดงานแสดง Road show

          วันที่ 25-31 ม.ค. 58 จ.ลำปาง ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ OTOP

          วันที่ 8-14 ก.พ. 58 จ.ตาก ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ OTOP

          วันที่ 19-20 มี.ค. 58 จ.นนทบุรี ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ OTOP

          วันที่ 27 มี.ค. 58 จ.พระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ OTOP

          วันที่ 31 มี.ค. 58 จ.อุดรธานี จัดงานแสดง Road show