KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

 

รายงานการประชุม

คณะทำงาน COPs กลุ่ม “เสงี่ยมศิษย์ ทช.”

ครั้งที่  ๒/๒๕๕๙

                             วันศุกร์ที่  ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙  เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๐๐ น.

ณ  ห้องประชุม ๓๑๒ ชั้น ๓ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ (พศ.)

------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้มาประชุม

๑.  นางอาภาพร  สินธุสาร                              นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ               ประธาน

๒.  นางพิศมัย  เลิศวัฒนะพงษ์ชัย                       นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ

๓.  นางภาณุพงศ์  หลาบขาว                           นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชำนาญการพิเศษ

๔.  นางสาวอรุณศรี  เตปิน                              นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

๕.  นางสุวรรณี  แทนธานี                              นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ

๖.  นายปรานต์  ปิ่นทอง                                นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ

๗.  นางปฏิญญา  จิยิพงศ์                               นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ

๘.  นางสาวจันทร์ฉาย  ยศศักดิ์ศรี                      นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

๙.  นางอรอนงค์  หุ่นฉายศรี                            เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ชำนาญงาน

๑๐.  นายสุทธิศักดิ์  กลิ่นแก้วณรงค์                    นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ปฏิบัติการ

๑๑.  นางสุจิตรา  สุนทรวุฒิคุณ                         ช่างชุบเคลือบผิวทางเครื่องปั้น

๑๒.  นางสาวชนิดาภา  สระมัจฉา                      นายช่างศิลปกรรม

๑๓.  นายศิวนันท์  ศรีสุริยวงษ์                          นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์

๑๔.  นางสาวชัญญาธร  บุญศรีสุข                      นักจัดการงานทั่วไป

๑๕.  นางสาวธิติญา  เชือนไธสง                        นักจัดการงานทั่วไป

๑๖.  นางสาวณฐกันต์  สำเริง                           เจ้าพนักงานธุรการ

๑๗.  นายธีรพงศ์  เพ็งคำ                                นักจัดการงานทั่วไป

๑๘.  นางสาวสุกัญญา  พลเสน                         นักจัดการงานทั่วไป

๑๙.  นายพัฒน์พงศ์  รามาส                            นักจัดการงานทั่วไป

๒๐.  นางสาวพุทธมาศ  ภู่ศรีพันธ์                       นักวิทยาศาสตร์

๒๑.  นางสาวการ์ตูน  เพ็งพรม                          นักวิทยาศาสตร์

๒๒.  นางสาวภควรรณ  เสาร์ฝั้น                        นักวิชาการเผยแพร่

๒๓.  นางสาวยามีละห์  นฤมิตบวรกุล                  นักวิทยาศาสตร์

๒๔.  นายมนัสชัย  เหลาเสนา                           เจ้าพนักงานธุรการ

๒๕.  นางสาววันดี  โพธิ์จุไร                             เจ้าพนักงานธุรการ

๒๖.  นางสาววรินทิพย์  สิทธิชัย                        นักวิทยาศาสตร์

๒๗.  นางสาวสุทธชยา  ชื่นวัฒนา                      นักวิทยาศาสตร์

๒๘.  นางสาวยุรี  ประสงค์แก้ว                         นักจัดการงานทั่วไป                                      เลขาฯ

 

 

 

 

 

ผู้ไม่มาประชุม  

๑.  นางวรรณดี  มหรรณพกุล                           นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ

๒.  นางสาวปริชญา  พิริยางกูร                         นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

๓.  นางสาวขนิษฐา  อินทร์ประสิทธิ์                    นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ

๔.  นายปัญจ์ยศ  มงคลชาติ                            นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ

๕.  นายณภศกร  ศรีนันทสุนทร                        เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ชำนาญงาน

๖.  นางสาวพิณทิพย์  พลายองอาจ                     นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

๗.  นายธิติพัทธ์  โปธา                                  นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน

๘.  นายวีระพงษ์  เนตรพล                              พนักงานบริการเอกสารทั่วไป

๙.  นายสมชาย  ประสงค์แก้ว                          พนักงานบริการเอกสารทั่วไป

๑๐.  นายประจวบ  ช่างคิด                             ช่างปั้น

๑๑.  นางสาวลูกน้ำ  สุขอินทร์                          เจ้าพนักงานธุรการ

๑๒.  นางสาวฤทัยรัตน์  แก้วดี                          นักวิทยาศาสตร์

๑๓.  นายภาณุวัฒน์  แดงสูงเนิน                        นักวิทยาศาสตร์

เริ่มประชุมเวลา           ๑๓.๓๐  น.      

ระเบียบวาระที่ ๑     การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “ประสบการณ์ดีๆ จากการถ่ายทอด”

นางอาภาพรฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๙ จะมีการจัดกิจกรรมภายใน วศ. ได้แก่ กิจกรรมวันแห่งการจัดการความรู้ของ วศ. ประจำปี ๒๕๕๙ (KM)  ซึ่งนโยบายการจัดงานของ อวศ. นอกจากจะมีการนำเสนองานแล้วยังมีการประกวดร้องเพลง  โดยให้แต่ละกลุ่ม COPs เตรียมแต่งเนื้อร้องและทำนองของเพลงเพื่อเตรียมประกวดในเดือนกรกฎาคมต่อไป

จากการประชุมกลุ่มครั้งที่ ๑/๒๕๕๙  เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา๑๓.๓๐–๑๕.๐๐ น.  ณ  ห้อง๕B/3  ชั้น ๕  อาคาร Sal ได้มีการระดมความคิดเพื่อตั้งชื่อกลุ่ม COPs และหาแนวทางการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มว่าจะมี concept แบบไหน  ซึ่งสมาชิกกลุ่ม COPs แต่ละคนได้นำเสนอแนวความคิดในหัวข้อเรื่องประสบการณ์ดีๆ จากการถ่ายทอด ซึ่งประกอบด้วยประเด็นสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ จำนวน ๕ หัวข้อ  ดังนี้

  1.   การถ่ายทอดความรู้ได้ตรงตามหัวข้อที่กำหนด
  2.   การตอบคำถามชัดเจนและตรงประเด็น
  3.   เทคนิค/วิธีการถ่ายทอด และการสื่อสาร
  4.   บุคลิกภาพ
  5.   การบริหารเวลา

สมาชิก COPs ได้ร่วมเล่าประสบการณ์ให้กับกลุ่มฯ  ดังนี้

นางพิศมัยฯ  เลือก “หัวข้อ การตอบคำถามชัดเจนและตรงประเด็น” และ “หัวข้อ เทคนิค/วิธีการถ่ายทอด และการสื่อสาร” โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้ จะลงพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเทคนิคและวิธีการเป็นผู้ประสานงานและการเป็นวิทยากร คือ เริ่มด้วยการเกริ่นนำก่อนว่ากำหนดการในวันนั้นมีอะไรบ้าง อธิบายให้ผู้ประกอบการทราบว่าภาคเช้ามีอะไรบ้างและภาคบ่ายมีอะไรบ้าง จากนั้นก็จะอธิบายถึงขั้นตอนการดำเนินการจนถึงการสาธิตกระบวนการปฏิบัติอย่างละเอียด โดยระหว่างการบรรยายหรือการสาธิตอาจจะสอดแทรกมุกตลกเพื่อให้ผู้ประกอบการไม่เครียดและไม่ง่วงนอน

นายปรานต์ฯ เลือก “หัวข้อ การตอบคำถามชัดเจนและตรงประเด็น” และ “หัวข้อ เทคนิค/วิธีการถ่ายทอด และการสื่อสาร” โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้ วิธีการพูดกับผู้ประกอบการ ถ้าเป็นการบรรยายสิ่งที่สำคัญ คือ ภาษา ต้องใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย ไม่ใช้ศัพท์วิชาการ อาจทำให้ผู้ประกอบการเบื่อและไม่สนใจ ต้องเน้นประเด็นปัญหาของผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการมีปัญหานำมาพูดคุยแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา ถ้าใครหลับก็ใช้วิธีการชวนคุยผู้อบรมจะได้มีแรงกระตุ่นและไม่หลับอีก  ในช่วงการแนะนำตัวช่วงแรก ให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมโดยเราต้องพยายามชี้แจงให้เห็นว่าเขาจะได้อะไรและมีอะไรบ้างที่จะเกิดกับเขา แบบนี้จึงจะได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ส่วนผู้ประกอบการที่ไม่ค่อยสนใจและไม่ให้ความร่วมมือต้องปล่อยผ่าน เพราะคนจำพวกนี้จะเรียกร้องในสิ่งที่เราให้ไม่ได้ เช่น เงิน ครุภัณฑ์  เราไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีคนมาอบรมกับเราหรือจะไม่ยื่น มผช. ให้เรา เพราะยังมีผู้ประกอบการอีกมากมายที่สนใจและพร้อมจะให้ความร่วมมือกับเรา

นางสาวยามีละห์ฯ  เลือก “หัวข้อ ถ่ายทอดความรู้ได้ตรงตามหัวข้อที่กำหนด” และ “หัวข้อ การบริหารเวลา”  โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้  เมื่ออยากให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในระหว่างการบรรยาย เราต้องมีการถามคำถาม เมื่อผู้ประกอบการตอบคำถามได้ก็จะมีของรางวัลมอบให้เพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้กับผู้ประกอบการ  ผู้ประกอบการจะได้ไม่ง่วงและมีส่วนร่วมตลอดการบรรยาย

นางสาวจันทร์ฉายฯ  เลือก “หัวข้อ เทคนิค/วิธีการถ่ายทอด และการสื่อสาร” และ “หัวข้อ การบริหารเวลา” โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้ 

๑. นำความรู้ที่เรามีไปถ่ายทอด เช่น อาจมีตัวอย่างเพื่อไปนำเสนอให้น่าสนใจ 

๒. แบ่งสัดส่วนผู้ประกอบการให้เหมาะสมกับวิทยากร เพื่อจะได้ซักถามหรือตอบคำถามได้ทั่วถึง เป็นการสื่อสารแบบสองทาง 

๓. ไม่ใช้ภาษาวิชาการจนเกินไป เช่น ค่า pH ผู้อบรมอาจจะไม่เข้าใจความหมายต้องใช้ภาษาพูดในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจง่ายขึ้น 

๔. การวางตัวให้ได้ใจผู้ประกอบการ เช่น ถ้าเราลงพื้นที่ให้การฝึกอบรมกับชาวบ้าน เราควรใช้บุคลิกท่าทางที่เป็นกันเองทำให้ผู้ประกอบการกล้าที่จะซักถามและสื่อสารกับเรามากขึ้น จะได้เข้าใจตรงกันและได้ข้อมูลที่มีประโยชน์

นางปฏิญญาฯ  เลือก “หัวข้อ เทคนิค/วิธีการถ่ายทอด และการสื่อสาร” และ “หัวข้อ การบิหารเวลา” โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้  ยกตัวอย่างการฝึกอบรมในโรงแรม เทคนิคที่ใช้จะไม่เหมือนการฝึกอบรมตามกลุ่มของผู้ประกอบการ อาจจะต้องใช้เวลาในการทำ power point นำเสนองาน เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความสนใจ  และระหว่างการบรรยายอาจจะมีการถามคำถามเพื่อเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้กับผู้ประกอบการ เมื่อตอบคำถามถูกต้องก็จะมีการแจกของรางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจ และเวลาพูดต้องสบตากับผู้ฟัง สายตาที่มองต้องไม่ลอกแลก ไม่มีการเล่นหูเล่นตา

นายศิวนันท์ฯ  เลือก “หัวข้อ การถ่ายทอดความรู้ได้ตรงตามหัวข้อที่กำหนด” โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้ 

๑. ก่อนที่จะมีการสื่อสารสิ่งแรกคือ ต้องศึกษาการพูดให้ชัดเจนข้าประเด็น เข้าใจง่าย โดยศึกษาจากสื่อต่างๆ เช่น จากนักข่าวว่าเขามีเทคนิคการพูดอย่างไรทำไมเวลานิดเดียวถึงสามารถพูดสรุปใจความได้ดีและเข้าใจง่าย  จากวิทยุว่าทำไมเวลาฟังดีเจพูดฟังแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน  พอเราได้เทคนิคและวิธีการพูดแล้วเราก็จะศึกษาเนื้อหาที่จะพูดให้เข้าใจมากที่สุดและที่สำคัญถึงแม้จะเตรียมตัวมาไม่ดีเราก็จะไม่เริ่มด้วยคำว่า “ขอโทษครับไม่ค่อยได้เตรียมตัว” และก็จะไม่พูดลงท้ายด้วยคำว่า “หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย”  

๒. ในการสื่อสารจะใช้น้ำเสียงที่ไม่ดังมากและไม่เบามากเกินไป ใช้น้ำเสียงพอดีน่าฟัง  เวลาพูดต้องสบตาผู้ฟังทุกคน และต้องยิ้มแย้มแจ่มใส 

๓. การใช้ภาษาในการสื่อสารไม่ควรใช้ศัพท์เทคนิค หรือพูดทับทรัพย์ภาษาอังกฤษ เพราะถ้าผู้ฟังไม่ใช่กลุ่มวิชาชีพเดียวกับเรา อาจทำให้ผู้ฟังไม่เข้าใจความหมายและทำให้ไม่อยากฟัง

นางสาวอรุณศรีฯ  เลือก “หัวข้อ เทคนิค/วิธีการถ่ายทอด และการสื่อสาร” และ “หัวข้อ การบริหารเวลา” โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้  การสื่อสารส่วนใหญ่จะประสานงานกับศูนย์ศิลปาชีพหลายแห่ง และมีประสานงานกับกลุ่ม OTOP เล็กน้อย  ในการสื่อสารต้องสื่อสารทั้งก่อนและหลังการถ่ายทอด เช่น ก่อนที่จะมีการลงพื้นที่ฝึกอบรมเราต้องประสานขอรายชื่อผู้ที่จะเข้ารับการฝึกอบรมก่อน  เมื่ออบรมเสร็จแล้วต้องสอบถามว่ามีปัญหาอะไรบ้าง  ถ้าทางศูนย์เกิดปัญหาในกระบวนการผลิตเราก็จะลงพื้นที่เชิงลึกเพื่อนำผู้เชี่ยวชาญลงไปช่วยในการแก้ปัญหา  เรื่องการบริหารเวลา ต้องใช้เวลาให้เหมาะสมตามเนื้องานแต่ละหลักสูตร เช่น หลักสูตรที่เกี่ยวกับการเผาอาจจะต้องรอเวลากว่าจะสามารถนำชิ้นงานออกมาจากเตาได้ หลักสูตรเกี่ยวกับการเคลือบ กว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการต้องใช้เวลานาน และสูตรที่เราให้เขาไปมีปัญหาหรือไม่ ถ้ามีปัญหาเราก็จะนำเคลือบมาปรับสูตรให้ใหม่  และเรื่อง OTOP ลักษณะการทำงานก็คล้ายกัน

นางสาวพุทธมาศฯ  เลือก “หัวข้อ การถ่ายทอดความรู้ได้ตรงตามหัวข้อที่กำหนด” และ “หัวข้อ บุคลิกภาพ” โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้  เรื่องการติดต่อผู้ประกอบการ  ส่วนมากจะติดต่อกับผู้ประกอบการหลายภาคทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารเนื่องจากแต่ละภาคจะใช้ภาษาพูดไม่เหมือนกัน โดยเริ่มจากการที่เราต้องทราบข้อมูลรายละเอียดทั้งหมดให้ครบถ้วน  พูดจากับผู้ประกอบการด้วยน้ำเสียงที่ไพเราะ น่าฟัง พูดช้าๆ ชัดๆ ควรใช้ภาษาที่เรียบง่ายเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น ต้องพูดถึงรายละเอียดหัวข้อหลักและเนื้อหาหลัก ให้ผู้ประกอบการฟัง เพราะส่วนมากผู้ประกอบการต้องการทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และเราต้องให้เวลาผู้ประกอบการในการตัดสินใจ

นางสาวสุกัญญาฯ  เลือก “หัวข้อ การถ่ายทอดความรู้ได้ตรงตามหัวข้อที่กำหนด” และ “หัวข้อ การบริหารเวลา”  โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้ เรื่องการติดต่อประสานงานกับผู้ประกอบการ ก่อนการจัดฝึกอบรมมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

๑. ต้องมีข้อมูลของผู้ประกอบการ ชื่อคน/ชื่อกลุ่ม และเบอร์โทรศัพท์ที่ถูกต้อง 

๒. ต้องมีความเข้าใจในข้อมูลที่จะจัดฝึกอบรมและสามารถตอบคำถามผู้ประกอบการได้ เช่น ชื่อหลักสูตรที่จะจัด ชื่อวิทยากร และหัวข้อเรื่องที่จะบรรยาย 

๓. เมื่อรวบรวมข้อมูลทั้งข้อ ๑ และ ๒ ได้ครบถ้วนแล้วต้องโทรหาผู้ประกอบการโดยใช้คำพูดที่สุภาพและเข้าใจง่าย อธิบายให้เขาฟังว่าเราต้องการอะไรจากเขา และเขาจะได้ประโยชน์อะไรจากการเข้ารับการฝึกอบรม

นางอรอนงค์ฯ  เลือก “หัวข้อ เทคนิค/วิธีการถ่ายทอก และการสื่อสาร” และ “หัวข้อ การบริหารเวลา” โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้ การทำงานส่วนใหญ่จะทำงานในห้อง LAB  เมื่อน้องๆ ลงพื้นที่และรับโจทย์ปัญหามาจากผู้ประกอบการณ์พี่ก็จะช่วยในเรื่องของการปรับปรุงและพัฒนาสูตรอาหารให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้น้องๆนำสูตรใหม่ที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ไปถ่ายทอดให้กับผู้ประกอบการ  และบางครั้งอาจจะมีโอกาสได้ลงพื้นที่ไปช่วยในการแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการบ้างเมื่อบุคลากรไม่เพียงพอ

นางสาวธิติญาฯ  เลือก “หัวข้อ การบริหารเวลา”  โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้  ความสำคัญของการติดต่อประสานงาน 

๑. ประสานกับผู้บริหาร เช่น การเรียนเชิญประชุมต้องมีรายชื่อกรรมการและเบอร์โทรติดต่อเพื่อแจ้งวาระการประชุม วัน เวลา และสถานที่ที่จะประชุม โดยการโทรประสานงานกับหน้าห้องผู้บริหารเพื่อนัดหมายวันประชุมก่อนเบื้องต้น และจัดทำหนังสือเชิญประชุมส่งตามไปภายหลัง

๒. ประสานกับบุคคลภายนอก เช่น ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยนำเรื่องที่ วช. แจ้งมาอ่านทำความเข้าใจหากมีข้อสงสัยต้องโทรไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อจะได้ประสานกับนักวิจัยได้ถูกต้องและได้ข้อมูลส่งกลับให้ วช. ตรงตามเวลาที่กำหนด 

๓. ประสานกับนักวิจัยของ วศ. เช่น การขอรับรายงานฉบับสมบูรณ์ จะต้องเริ่มด้วยการทำบันทึกขอความอนุเคราะห์ข้อมูลแจ้งไปยังธุรการสำนักพร้อมทั้งแจ้งกำหนดวันเวลาที่ต้องการรับข้อมูลตอบกลับ  เมื่อถึงกำหนดรับข้อมูลแล้วแต่ยังไม่มีผู้ส่งข้อมูลตอบกลับ จะต้องโทรประสานเจ้าของเรื่องโดยตรงโดยใช้คำพูดที่สุภาพ อ่อนน้อม

นางสาวณฐกันต์ฯ  เลือก “หัวข้อ เทคนิค/วิธีการถ่ายทอด และการสื่อสาร” และ “หัวข้อ การบริหารเวลา” โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้ ฝ่ายธุรการเป็นหน่วยงานที่ต้องประสานงานกับทุกหน่วยงานภายในกรม  ดังนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาในหลายอย่าง เช่น การสื่อสารกันไม่เข้าใจทำให้คำตอบไม่ตรงคำถาม การส่งงานล่าช้าไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด เอกสารสูญหาย ทำให้การประสานงานอาจจะมีปัญหา เพราะฉะนั้นฝ่ายธุรการต้องมีการควบคุมอารมณ์เป็นอย่างดี และในเรื่องของการทำงานอยากให้แต่ละกลุ่มงานตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่จะส่งและงานธุรการจะช่วยตรวจสอบให้อีกครั้งก่อนจะนำเสนอ ผอ. ลงนาม เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดภายในสำนักก่อนส่งเอกสารออกไปให้สำนักอื่น

นางอาภาพรฯ  เลือก “หัวข้อ บุคลิกภาพ” และ “หัวข้อ การบริหารเวลา” โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเป็นวิทยากรบรรยาย การนำเสนองานที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการในเรื่องหลักสูตรนั้นๆ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

๑. ขั้นตอนก่อนการปฏิบัติงานถ่ายทอด/บรรยาย/นำเสนองาน 

     -  วางแผนการทำงาน

     -  แบ่งงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ และมอบหมายงาน

     -  เตรียมงาน ทั้ง วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ

     -  เตรียมเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

     -  เตรียมการนำเสนองาน power point องค์ความรู้ต่างๆ

     -  สำหรับผู้เป็นวิทยากร/ผู้นำเสนอ ต้องฝึกพูดบรรยายให้คล่อง

๒. ขั้นตอนระหว่างการปฏิบัติงานถ่ายทอด/อบรม/นำเสนองาน

     -  พูดนำเสนอให้ตรงประเด็น

     -  แต่งตัวให้แสดงออกถึงบุคลิกภาพที่ดี เหมาะสมกาลเทศะ และแสดงถึงศักดิ์ศรีของการเป็นผู้แทนของหน่วยงาน

     -  รักษาบรรยากาศการถ่ายทอด พยายามให้ทุกคนมีความตั้งใจฟังและมีส่วนร่วม อาจใช้เทคนิคต่างๆ และประสบการณ์ในการโน้มน้าวให้เกิดความสนใจฟัง

     -  พยายามประสานสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นให้ยืดยาวออกไปในอนาคต โดยพยายามทำให้ผู้ฟังจดจำหน่วยงาน ชื่อ และหน้าตาของเราให้ได้เพื่อการติดต่อประสานงานในครั้งต่อไปจะได้ง่ายขึ้น

     -  ทำจิตใจให้สบาย ใส่ความรู้สึกแห่งมิตรภาพและความหวังดีที่เรามีให้แก่ผู้ที่มารับฟัง

     -  แสดงศักยภาพของทีมงานและหน่วยงานในทางที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความร่วมมือในอนาคต

     -  ฝากข้อมูล ที่อยู่ ที่สามารถติดต่อกลับได้ให้แก่ผู้รับฟัง

๓. ขั้นตอนภายหลังการปฏิบัติงานถ่ายทอด/อบรม/นำเสนองาน

     -  ติดตามผลการดำเนินงานของเราเป็นระยะแต่ไม่ใช่ทุกราย เราต้องประเมินผู้ฟัง/ผู้เข้ารับการอบรม ด้วยว่าใครมีความตั้งใจและมีศักยภาพที่แท้จริง จึงจะติดตาม เพราะในอนาคตเราอาจต้องขอความช่วยเหลือจากเขาได้

สรุป  ต้องมีความ ตั้งมั่น ตั้งใจทำ พร้อมกับการปรับตัวแก้ไขข้อบกพร้อง พัฒนาศักยภาพอยู่เสมอ ทำงานเป็นทีม ไม่เกี่ยงงาน ไม่โทษกัน ไม่ใส่ร้ายกัน ให้อภัยกัน และให้เกียรติทีมงาน เมื่อทุกอย่างถูกเตรียมมาดีการทำงานก็จะมีความสุข สุขทั้งเรา ทีมงาน และผู้ที่ได้รับการอบรม

นางสุวรรณีฯ  โดยได้แชร์ประสบการณ์ ดังนี้ “หัวข้อ การถ่ายทอดความรู้ได้ตรงตามหัวข้อที่กำหนด”

๑. ตีโจทย์ ทำความเข้าใจ และจับประเด็นที่ต้องการนำเสนอ 

๒. เตรียมเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดทำสื่อเพื่อการถ่ายทอดสิ่งที่ต้องการบอกกล่าว

“หัวข้อ เทคนิค/วิธีการถ่ายทอด และการสื่อสาร” ๑. เลือกวิธีการสื่อสารให้เหมาะสม ถ้าจะทำเป็นสไลด์ จะเน้นเป็นรูปภาพ/โฟลชาร์ท/กราฟ  เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น  ไม่บรรยายเป็นตัวหนังสือเพราะจะทำให้น่าเบื่อ ภาพที่สื่อความหมายจะทำให้คนจดจำได้ง่ายขึ้น

๒. การสื่อสาร ต้องดูว่ากลุ่มคนเป้าหมายเป็นใคร มีระดับการศึกษา และอายุเท่าไหร่  เพื่อให้เราเตรียมเนื้อหาได้เหมาะสม ถ้าเป็นกลุ่มชาวบ้านต้องใช้คำพูดง่ายๆ นักวิทยาศาสตร์ที่ดีต้องพูดให้คนที่ไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สามารถฟังแล้วเข้าใจได้  จึงจะถือว่าเป็นคนที่ “พูดจารู้เรื่อง”

๓. การบรรยาย หากเป็นการพูดจากประสบการณ์ตรงจะฟังดูน่าสนใจและสนุก วิทยากรจะต้องมีมุขขำขันหรือเกร็ดความรู้สอดแทรก เพื่อสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง สนุกสนาน และถ้าให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นได้จะยิ่งดี

มติที่ประชุม           รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒    แผนการดำเนินงานของกลุ่ม COPs “เสงี่ยมศิษย์ ทช.”

                         นางอาภาพรฯ แจ้งว่า กลุ่มฯ มีเวลาในการเตรียมงาน KM ประมาณ ๔ – ๕ เดือน  (มีนาคม –

กรกฎาคม ๒๕๕๙)  ซึ่งงานที่กลุ่มฯ ต้องเตรียมมีอยู่ ๒ เรื่องหลักๆ คือ

                         ๑. เตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอในงาน KM วศ. ภายใต้ชื่อเรื่อง “ประสบการณ์ดีๆ จากการถ่ายทอด”

                         ๒. เตรียมแต่งเนื้อร้อง และทำนอง ของเพลงประจำกลุ่ม COPs เพื่อประกวดในงาน KM หากเพลง

ของกลุ่มใดได้รางวัลชนะเลิศ จะนำเพลงนั้นมาเป็นเพลงประจำกรมฯ

มติที่ประชุม           รับทราบและพร้อมมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทั้ง ๒ เรื่อง  ดังกล่าว

เลิกประชุมเวลา        ๑๕.๐๐ น.          

นางสาวชัญญาธร  บุญศรีสุข         ผู้จดรายงานการประชุม

นางอาภาพร  สินธุสาร  ผู้ตรวจรายงานการประชุม

 

           รูปภาพการประชุม ครั้ง ๒/๒๕๕๙