KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

รายงานการประชุม

คณะทำงานการจัดการความรู้ ทช.

 ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐

วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น.

ณ ห้องประชุม ๕๐๑ ชั้น ๕ อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง (SAL)

 

ผู้เข้าร่วมประชุม

๑. นางวรรณา ต.แสงจันทร์                            ๗. นางสาวจารุวรรณ แตงเที่ยง

๒. นายปัญจ์ยศ  มงคลชาติ                            ๘. นางสาวฤทัยรัตน์ แก้วดี

๓. นายศิวนันท์  ศรีสุริยวงษ์                          ๙. นางสาวณฐกันต์ สำเริง

๔. นางสาวไพรัตน์  ศรีชัยนาท                        ๑๐. นางสาวชนิดาภา สระมัจฉา

๕. นางสาวธนวรรณ โรจน์ปิติกุล                     ๑๑. นางสาวจุติภา บุญวิเศษ

๖. นางสาวสุนีย์พร โพธิ์แก้ว             

เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๐๐ น.          

ระเบียบวาระที่ ๑ การรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าการตลาด โดยชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs)

                        จากการประชุมร่วมกันได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และได้ข้อสรุปหลักๆที่บุคลากร ทช. ควรทราบเกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าการตลาดของ ทช. ดังนี้

                       ๑. การเพิ่มมูลค่าการตลาด เป็นองค์ความรู้หนึ่งที่สำคัญต่อบุคลากรของ ทช. เนื่องจากบุคลากรของ ทช. ส่วนใหญ่เป็นนักวิทยาศาสตร์ จะเน้นการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลักเพื่อใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ ทำให้ยังขาดความรู้ในเรื่องของ การเพิ่มมูลค่าการตลาด เพราะมุ่งทำแต่งานวิจัย ดังนั้นหากบุคลากร ทช. มีองค์ความรู้เรื่อง การเพิ่มมูลค่าการตลาดนี้ จะเป็นเรื่องที่ดีในการไปถ่ายทอดความรู้ให้ชุมชน และผู้ประกอบการได้รู้จักช่องทางการจำหน่ายสินค้า การสร้างรายได้ รวมไปถึงได้รู้จักการตลาดออนไลน์

                        ๒. หลักการตลาด 4P เป็นพื้นฐานความรู้ทางการตลาด ซึ่งบุคลากรของ ทช. ควรได้เรียนรู้ ได้แก่

                ๒.๑ ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) เช่น การสร้างตลาดออนไลน์

                ๒.๒ ราคา (Price) วิธีการตั้งราคาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

                            ๒.๓ การส่งเสริมการตลาด (Promotion) การโฆษณาผลิตภัณฑ์ การสร้างเรื่องราวให้กับสินค้า

                            ๒.๔ ผลิตภัณฑ์ (Product) การออกแบบสิ่งบรรจุผลิตภัณฑ์ให้มีเอกลักษณ์

                       ๓. นโยบายการตลาดของประเทศไทย และของโลก เช่น SME 4.0, OTOP 2.0 และ Thailand 4.0

                       ๔. Product life cycle (ขั้นตอนของวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์)

                       ๕. การตลาดออนไลน์

                       เมื่อชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs)ได้สรุปหัวข้อหลัก ๕ เรื่องที่บุคลากร ทช. ควรทราบแล้ว ได้มีความเห็นตรงกันว่าให้ นายสุทธิศักดิ์ กลิ่นแก้วณรงค์ ตำแหน่งนักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ปฏิบัติการ มาแชร์ประสบการณ์แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการเพิ่มมูลค่าการตลาด ในประเด็นข้างต้นให้กับตัวแทนจากกลุ่มงานของ ทช. ได้รับฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ นี้ 

มติที่ประชุม รับทราบ

ระเบียบวาระที่ ๒ อื่นๆ

                        ไม่มี

มติที่ประชุม รับทราบ

เลิกประชุม ๑๕.๐๐ น.


                                                                           นางสาวไพรัตน์ ศรีชัยนาท ผู้จดรายงานการประชุม                                                                               นางวรรณา ต.แสงจันทร์    ผู้ตรวจรายงานการประชุม

..........................................................