KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

 

Draft 1

 

 

 
 

 

 


แนวทางปฏิบัติงาน

กองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร

ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

เรื่อง

การจัดการความเสี่ยงและโอกาส

 

รหัสเอกสาร....................................

 

 

 

ตำแหน่ง

ผู้จัดทำ

 

ผู้ทบทวน

 

ผู้อนุมัติ

 

 

 

กรมวิทยาศาสตร์บริการ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

75/7  ถนนพระรามที่ 6  เขตราชเทวี 

กรุงเทพ 10400

 

 

 

ฉบับที่                                                                                   สำเนาที่

วันที่ออกใช้                                                                                  ผู้ถือครอง


 

การจัดการความเสี่ยงและโอกาส

  1. บททั่วไป

ห้องปฏิบัติการได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามระบบ ISO/IEC 17025มาเป็นระยะเวลานานเพื่อการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากล

ในการดำเนินงานการบริการวิเคราะห์ทดสอบอาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้นที่นำไปสู่ความเสียหายต่อห้องปฏิบัติการได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมหากมีการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นผู้บริหารจึงให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญเพื่อที่จะได้เลือกวิธีการที่เหมาะสมในการบริหารความเสี่ยงเหล่านั้นให้อยู่ในระดับที่สามารถรับได้ และทำให้สามารถดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยเหตุนี้ห้องปฏิบัติการ อว.จึงจัดทำระบบบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อเตรียมการรองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นและเป็นไปตามข้อกำหนดของระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025version ใหม่

 

  1. SWOT Analysis

ห้องปฏิบัติการ อว. ได้พิจารณาทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการบรรลุผลตามเจตนาของระบบบริหารงานคุณภาพ โดยใช้ SWOT Analysis ร่วมกับคุณค่าวัฒนธรรม ความรู้ และสมรรถนะขององค์กร ซึ่งแบ่งเป็น

  1. ปัจจัยภายในพิจารณาจากจุดแข็ง (Strengths) และ จุดอ่อน (Weaknesses)
  2. ปัจจัยภายนอกพิจารณาจากโอกาส (Opportunities) และ ภัยคุกคาม (Threats)

(ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ SWOT Analysis ในภาคผนวก 1)

 

  1. ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ความต้องการและความคาดหวัง

  1. ผู้รับบริการ
  • ผลการทดสอบที่ถูกต้อง ครบถ้วน และรวดเร็ว
  • ต้องการความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร และรับส่งตัวอย่าง
  1. บุคลากรในองค์กร
  • ได้รับบริการที่ถูกต้อง สะดวกและรวดเร็ว
  • การดำเนินงานตามแผนงานและแผนเงิน
  • การสื่อสารภายในองค์กรที่ถูกต้องครบถ้วนและชัดเจน
  1. องค์กร
  • การดำเนินงานสามารถตอบสนองตัวขี้วัดของหน่วยงาน
  1. คู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ
  • คู่ค้าต้องการให้ตรวจรับและได้รับเงินตามสัญญาที่กำหนด
  • พันธมิตร มีการบูรณาการร่วมกันอย่างชัดเจนและรวดเร็ว
  1. สังคม
  • การบริการที่มีคุณภาพ
  • สินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

 

  1. ความเสี่ยงและแนวทางการจัดการความเสี่ยง

ห้องปฏิบัติการได้พิจารณาโอกาสที่จะเกิด/ความถี่ที่จะเกิดเหตุการณ์และระดับผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแล้วได้นำผลที่ได้มาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และผลกระทบของความเสี่ยงต่อห้องปฏิบัติการว่าก่อให้เกิดความเสี่ยงระดับใด (ระดับความเสี่ยง = โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ x ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความเสียหาย) COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Tread way Commission) ซึ่งจัดแบ่งเป็น 5ระดับ สามารถแสดงเป็นแผนภูมิความเสี่ยง (Risk Profile) โดยใช้เกณฑ์ในการแบ่ง ดังนี้

  1. ระดับความเสี่ยงน้อยมาก
  2. ระดับความเสี่ยงน้อย
  3. ระดับความเสี่ยงปานกลาง
  4. ระดับความเสี่ยงสูง
  5. ระดับความเสี่ยงสูงมาก

ทั้งนี้เมื่อประเมินแล้วพบว่าระดับความเสี่ยงมีคะแนนตั้งแต่ 5 คะแนนขึ้นไป ต้องระบุแนวทางแก้ไขและป้องกัน รวมทั้งผู้รับผิดชอบ แต่หากประเมินแล้วพบว่าระดับความเสี่ยงมีคะแนนน้อยกว่า 5คะแนน อาจระบุแนวทางแก้ไขและป้องกัน และผู้รับผิดชอบหรือไม่ก็ได้

 

5

 

 

 

 

 

4

 

 

 

 

 

3

 

 

 

 

 

2

 

 

 

 

 

1

 

 

 

 

 

 

1

2

3

4

5

Text Box: โอกาสที่จะเกิด13;10;1 = น้อยมาก9;2 = น้อย    3 = ปานกลาง    4 = สูง    5 = สูงมาก13;10;Text Box: จะพิจารณาคัดเลือกความเสี่ยงในระดับความเสี่ยงตั้งแต่คะแนน 10 ขึ้นไป (ความเสี่ยงสูง - สูงมาก) นำมาบริหารความเสี่ยง โดยความเสี่ยงในระดับคะแนนต่ำกว่า 10 (ความเสี่ยงระดับปานกลาง - น้อยมาก) ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ โดยมีมาตรการการบริหารความเสี่ยงรองรับแล้วText Box: ขอบเขตความวิกฤติ13;10;<ความเสี่ยงสูงมาก13;10;<ความเสี่ยงสูง13;10;<ความเสี่ยงปานกลาง13;10;<ความเสี่ยงน้อย13;10;<ความเสี่ยงน้อยมาก13;10;Text Box: ผลกระทบ13;10;1 = น้อยมาก13;10;2 = น้อย13;10;3 = ปานกลาง13;10;4 = สูง13;10;5 = สูงมาก13;10;


 

 

ตัวอย่างการพิจารณาความรุนแรงของผลกระทบ และโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย

ประเด็น/องค์ประกอบที่พิจารณา

1=น้อยมาก

2=น้อย

3=ปานกลาง

4=สูง

5=สูงมาก

ความรุนแรงของผลกระทบ

 

 

 

 

ความพึงพอใจของผู้รับบริการ/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

>80%

60-80%

40-60%

20-40%

<20%

จำนวนผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย/จำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบ

 

 

 

 

 

จำนวนผู้ร้องเรียนต่อปี

<1 ราย

1-5 ราย

6-10ราย

11-15ราย

>15ราย

โอกาสที่จะเกิดความเสียหาย

 

 

 

 

ระเบียบและคู่มือปฏิบัติ

มีทั้ง2รายการและปฏิบัติ

มีอย่างใดอย่างหนึ่งและปฏิบัติ

มีทั้ง2รายการแต่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ปฏิบัติ

มีอย่างใดอย่างหนึ่งแต่ไม่ปฏิบัติ

ไม่มีทั้ง2รายการ

การควบคุม ติดตาม และตรวจสอบของผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานอื่น

ทุกสัปดาห์

ทุก 2สัปดาห์

ทุกเดือน

ทุก 3เดือน

ทุก 6 ดือน

ความถี่ในการเกิดความผิดพลาดการปฏิบัติงาน (เฉลี่ยต่อปี/ครั้ง)

5 ปี/ครั้ง

2-3 ปี/ครั้ง

1 ปี/ครั้ง

1-6เดือน/ครั้ง

1เดือน/ครั้ง หรือน้อยกว่า

โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์

5 ปี/ครั้ง

4ปี/ครั้ง

3ปี/ครั้ง

2ปี/ครั้ง

1 ปี/ครั้ง (เกิดแน่นอน)

 

  1. โอกาสและแนวทางการจัดการโอกาส

ห้องปฏิบัติการ อว.นำโอกาส (Opportunities) มาประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

 

 


ตัวอย่างความเสี่ยงและแนวทางการจัดการความเสี่ยงของห้องปฏิบัติการ แสดงดังตารางนี้

ความเสี่ยง

ผลกระทบจากความเสี่ยง

มาตรการควบคุมที่มีอยู่ปัจจุบัน

ระดับผลกระทบ

ระดับโอกาส

ระดับความเสี่ยง

แนวทางแก้ไขและป้องกัน

ผู้รับผิดชอบ

  1. เครื่องมือหลักเสื่อมสภาพ/ชำรุด
  • การบริการล่าช้าไม่สามารถส่งงานได้ตามที่กำหนด
  • ผลการทดสอบผิดพลาด
  • มีการสอนการใช้เครื่อง
  • มีคู่มือการใช้งานประจำเครื่อง

 

4

3

12 (สูง)

- จัดทำแผนงานและแผนงบประมาณการสอบเทียบ ตรวจสอบสมรรถนะ และดูแลรักษาเครื่องมือหลัก

- จัดทำคู่มือการดูแลรักษาเครื่องมือ

- ประสานงานกับหน่วยงานอื่นเพื่อขอใช้เครื่องมือ

- หาหน่วยงานที่สามารถจ้างเหมาช่วงบริการทดสอบ

กลุ่มงาน

  1. เจ้าหน้าที่ทดสอบเกษียณ/ลาออก

(ขาดผู้เชี่ยวชาญ / เจ้าหน้าที่ไม่พอ)

- เกิดความล่าช้า/ ผิดพลาดในการบริการ และอาจทำให้ผู้รับบริการไม่พอใจ

-เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพออาจทำให้งานเกินกำลังเกิดความผิดพลาดได้

- หก./ผอว. ตรวจสอบผลก่อนออกรายงานฉบับ

- มีการสอนงาน

-มีคู่มือและเอกสารอ้างอิงสำหรับแต่ละงาน

4

2

8 (ปานกลาง)

  • กำหนดกลยุทธ์การบริหาร
  • มีการหมุนเวียนการทำงานเพื่อให้มีผู้รู้งานมากขึ้นสามารถใช้ทดแทนเวลางานใดเจ้าหน้าที่ไม่พอและมีงานมาก
  • มีกิจกรรม KMงาน

ผู้บริหาร / กลุ่มงาน

  1. วิธีการทดสอบล้าสมัย/ไม่สอดคล้องกับความต้องการผู้รับบริการ

-ไม่ทันสมัย /ไม่ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ

-มีการทบทวนคำขอเกี่ยวกับวิธีการทดสอบกับผู้รับบริการก่อนรับทดสอบ

3

2

6 (ปานกลาง)

  • จัดทำแบบสำรวจความต้องการ /ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
  • จัดให้มีผู้รับผิดชอบติดตามข่าวสารการทดสอบที่เกี่ยวข้อง

กอง / กลุ่มงาน

  1. การจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า
  • ไม่ได้รับสารเคมี / วัสดุอุปกรณ์ตามเวลาหรือสเปคที่ต้องการใช้งาน

-จัดหาใบเสนอราคาจากบ.ที่มีสินค้าที่ตรงตามที่ต้องการให้ครบ 3 บริษัทตามกฎระเบียบ

- จัดซื้อ/จัดจ้างโดยLabเอง

2

4

8 (ปานกลาง)

  • จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างอย่างละเอียด
  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างและสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน

กอง / กลุ่มงาน

 


ภาคผนวก 1

 

SWOT:  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

 

จุดแข็ง (Strength : S)

1.หน่วยงานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

2. หน่วยงานมีการบริหารจัดการโดยใช้ระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล

3. หน่วยงานมีความสามารถในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการที่นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง

4. หน่วยงานมีทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสะดวกต่อการให้บริการ

5. บุคลากรมีความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นที่ยอมรับจากผู้รับบริการ

6. ผู้บริหารมีนโยบายให้บุคลากรทำงานแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม

7. การกำหนดตำแหน่งความก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากรสายวิชาการมีความชัดเจน

8. หน่วยงานมีจุดบริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ทำให้การรับตัวอย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น

9. หน่วยงานมีความโปร่งใสด้านการเงิน/ด้านการบริหารพัสดุ

10. ผลงานตามภารกิจของหน่วยงานเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

11. ผลการทดสอบของหน่วยงานสามารถใช้รับรองสินค้าส่งออก และปรับปรุงคุณภาพสินค้า OTOP ในการเข้าสู่กระบวนการยื่นขอการรับรอง

12. แผนยุทธศาสตร์ วศ.๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙) มีเป้าหมายที่จะยกระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มีความเข้มแข็งในการตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐานสากลฯ

13. วศ.ได้รับมอบโล่และตรารับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก GECC (Government Easy Contact Center) ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ.๒๕๕๘ โดย อว.เป็นหนึ่งในบริการ GECC ของ วศ.

14. บุคลากรมีจิตมุ่งบริการ (service mind)

16. มีระบบเทคโนโลยีมีความทันสมัยที่ใช้กับสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Application และ website ให้ผู้รับบริการเข้าถึงข้อมูลการใช้บริการได้

17. หน่วยงานมีการบริหารจัดการโดยใช้ระบบคุณภาพมาตรฐานสากล

18. มีขั้นตอนในการบริหารจัดการและขั้รตอนการทำงานที่ชัดเจน

19. รัฐบาลและกระทรวงวิทย์ฯ มีนโยบายให้หน่วยงานรัฐให้บริการแบบ One stop service

 

จุดอ่อน (Weakness : W)

1. โครงสร้างองค์กรไม่สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

2. การให้บริการด้านทดสอบยังไม่ครอบคลุมทุกรายการ

3. โครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานยังไม่มีการจัดระบบอย่างมีประสิทธิภาพ

4. หน่วยงานไม่มีกลไกในการผลักดันให้บุคลากรแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่

5. การถ่ายทอดองค์ความรู้แฝง (Tacit knowledge) และประสบการณ์สู่บุคลากรรุ่นต่อไปไม่เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง

6. บุคลากรส่วนใหญ่ขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศ การสื่อสารและการประสานงาน

7. บุคลากรบางส่วนไม่ปรับตัวต่อสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

8. การทำงานแบบบูรณาการและการทำงานเป็นทีมยังไม่มีประสิทธิภาพ

9. การประเมินความดีความชอบของบุคลากรไม่สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

10. การสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลไม่ทั่วถึงและไม่มีประสิทธิภาพ

11. หน่วยงานไม่มีการกำหนดเกณฑ์การวัดปริมาณภาระงาน (Work load) ในแต่ละบุคคลที่ชัดเจน เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภา

12. การบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ไม่มีประสิทธิภาพ

13. ไม่มีกลไกในการเตรียมความพร้อมในการสร้างนักบริหาร

14. การให้บริการของหน่วยงานยังมีความล่าช้า

15. การดำเนินงานในกระบวนงานพัสดุล่าช้า

16. ผลลัพธ์ (outcome) และผลผลิต (output) ของหน่วยงานยังไม่สนองตอบต่อความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างทั่วถึง

17.การบริหารจัดการแผนบริหารความเสี่ยง และแผนความปลอดภัยยังไม่มีประสิทธิภาพ

18. บุคลากรที่เข้าใหม่ยังมีทักษะและประสบการณ์ในการทำงานด้านวิชาชีพน้อย ต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนา

19. ความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กรมีน้อยทำให้บุคลากรโอนย้ายบ่อย ส่งผลให้การปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่อง

20บุคลากรส่วนใหญ่ไม่แม่นยำเรื่องระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ งานพัสดุ ทำให้งานล่าช้า

21. เนื่องจากห้องปฏิบัติการบางส่วนปิดปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคไปเป็นเวลานาน ทำให้เครื่องมือวิทยาศาสตร์เสื่อมสภาพแต่งบประมาณในการดูแลรักษาและซ่อมแซมเครื่องมือวิทยาศาสตร์มีน้อย

22. ระบบการบริหารจัดการเครื่องมือ สารเคมีและเครื่องแก้วยังไม่มีประสิทธิภาพ

23. บุคลากรบางส่วนยังไม่แม่นเรื่องระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025

24. วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมีบางอย่าง จัดซื้อไม่ทันกับความต้องการการใช้งาน

25. การให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการมีการจำกัดเวลา ภายในเวลาราชการและสถานที่ราชการ

26. ระบบสารสนเทศที่ให้บริการแก่ผู้รับบริการมีความซับซ้อนใช้งานยาก

 

โอกาส (Opportunity : O)

1. ภาวะการแข่งขันของภาคการผลิตทำให้ผู้ประกอบการหันมาพึ่งพาองค์ความรู้มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้า

2. วิกฤติด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ ทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทเพิ่มขึ้น

3. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นโอกาสในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสามารถสนองตอบผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4. แนวนโยบายภาครัฐมีการส่งเสริมให้ท้องถิ่น/ชุมชนสามารถพัฒนาตนเองได้มากขึ้น ทำให้งานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทในการสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิต/เศรษฐกิจชุมชน

5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12(พ.ศ.2560-2564) มีนโยบายในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาสาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม และเพิ่มอันดับความสามารถในการแข่งขันโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ยุทธศาสตร์ที่ 3: การสร้างความเข้มเข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และ

ยุทธศาสตร์ที่ 8: การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม

6. กฎหมายด้านความปลอดภัยอาหารมีผลกระทบต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้ผู้ประกอบการอาหารมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาสินค้าและคุณภาพอาหารให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก

7. การที่กฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศมีเกณฑ์กำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นและต้องการเทคนิคทางด้านวิทยาศาสตร์ทำให้ผู้ประกอบการต้องใช้ผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถ จึงเป็นโอกาสของหน่วยงานในการสร้างขีดความสามารถในเตรียมความพร้อมในการแข่งขัน

8. การเป็นหน่วยงานที่ให้บริการทดสอบตามข้อกำหนดของมาตรฐานที่เกี่ยวข้องและ/หรือความต้องการของประเทศคู่ค้า โดยการเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพาณิชย์ให้ออกใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกตามความต้องการของประเทศคู่ค้า

9.รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และ SMEs ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

10. ในปี 2558ประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งทำให้ประเทศต่างๆ มีการนำมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีมาใช้ ดังนั้นสินค้าต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพโดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล เป็นส่วนผลักดัน/เร่งรัดให้ภารกิจของหน่วยงานมีบทบาทมากขึ้น

11. สินค้าไทย เช่น สินค้าทางการเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง ยา ต้องแข่งขันในด้านคุณภาพในเวทีการค้าโลก ทำให้มีความต้องการห้องปฏิบัติการในการทดสอบเพื่อไปปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้สินค้าได้มาตรฐาน

12. การขยายตลาดสินค้าของวิสาหกิจชุมชน เป็นโอกาสให้หน่วยงานสามารถเข้าไปถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าให้กับชุมชนมากขึ้น

13. การแข่งขันการค้าที่รุนแรงในเวทีการค้าโลก และมาตรการกีดกั้นทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ทำให้สินค้าส่งออกต้องได้รับการทดสอบคุณภาพ หรือการตัดสินทางวิทยาศาสตร์ เป็นผลให้ความต้องการทดสอบ คุณภาพผลิตภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้นและห้องปฏิบัติการของประเทศอีกมากที่ต้องยกระดับคุณภาพตามมาตรฐานสากล

14. ภาคประชาชน ชุมชน มีความต้องการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจึงมีส่วนในการร่วมสนับสนุนงบประมาณดำเนินการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นโอกาสให้หน่วยงานได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยมากขึ้น

15. การเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร ทำให้มีค่าธรรมเนียมในการให้บริการสมเหตุสมผล และผู้รับบริการยอมรับได้

16. ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการใช้สินค้าที่มีความปลอดภัยและมีมาตรฐานเพิ่มขึ้น ทำให้สินค้าจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ

17. แนวโน้มผู้บริโภค มีการเปลี่ยนแปลงของวิถีดำรงชีวิต มีความตระหนักด้านสุขภาพ ต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

18. บริษัทเอกชนอื่น อาจมีบริการที่มีราคาสูงกว่า

19. ผู้ใช้บริการมีความจำเป็นต้องใช้บริการที่ถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว เพื่อใช้ในการผลิต วิจัยพัฒนา และแก้ปัญหา เพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ

20. การขยายตลาดของวิสาหกิจชุมชน/ SMEs / OTOP มีความจำเป็นต้องใช้บริการในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้มาตรฐาน

21. ลูกค้าต้องการให้สินค้าและผลิตภัณฑ์มีมาตรฐาน

 

ข้อจำกัด (Threat : T)

1. เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการ การกำหนด/ปรับปรุง กฎ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. ภัยจากอาชญากรรมด้านเทคโนโลยีอาจมีผลกระทบต่อระบบการป้องกันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้

3. การวางแผน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกิดการชะงักและไม่ต่อเนื่อง สาเหตุหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

4. การจัดสรรทรัพยากรสำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและตอบการสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต

5. หลักเกณฑ์วิธีการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สำนักงาน ก.พ. ออกตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551เพื่อให้ส่วนราชการนำไปปฏิบัติ บางส่วนยังไม่ชัดเจน

6. เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวมีผลกระทบต่อการลงทุนของประเทศ ทำให้ผู้ใช้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลดลง

7. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้เกิดคู่แข่งทางด้านการให้บริการที่สามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรี

8. งบประมาณสนับสนุนการวิเคราะห์ทดสอบ และวิจัยพัฒนา ยังอยู่ในระดับต่ำ

9. มีหน่วยงานเครือข่าย/สาขาในภูมิภาคแต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ ทำให้การบริการไม่สามารถเข้าถึงผู้รับบริการได้อย่างทั่วถึง และตอบสนองทุกความต้องการของผู้รับบริการได้

10. ค่านิยมและเส้นทางความก้าวหน้าทางสายวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่ชัดเจนทำให้คนรุ่นใหม่สนใจประกอบวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์น้อยลง

13.บทบาทของหน่วยงานด้านการบริการทดสอบลดลงเนื่องจากมีงานบริการทดสอบที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น

14. มีกฎหมายและระเบียบราชการด้านการให้บริการประชาชน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการให้บริการและเกิดข้อร้องเรียน หากไม่ปฏิบัติตาม

15. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศที่รวดเร็ว ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนให้เท่าทันซึ่งต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง และบุคลากรที่มีความสามารถ

16. หน่วยงานอื่นมีการพัฒนาการให้บริการที่หลากหลาย และได้รับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตาม ISO/IEC 17025ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการรับบริการมากขึ้น

17. คนไทยนิยมการขอรับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ตามกระแสสังคม

18. ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการภาครัฐน้อยลง

19. การให้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีราคาสูงมาก

20. เศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาวะชะลอตัว ทำให้เกิดผลกระทบต่อการลงทุนของประเทศลดลง ทำให้เอกชนขาดแรงจูงใจในการลงทุน