KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

SWOT:  การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ของ วศ.

 

จุดแข็ง (Strength : S)

 

๑. หน่วยงานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

๒. หน่วยงานมีการบริหารจัดการโดยใช้ระบบคุณภาพตามมาตรฐานสากล

๓. หน่วยงานสามารถนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากห้องปฏิบัติการสู่ชุมชนในการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานและคุณภาพชีวิต

๔. หน่วยงานมีความสามารถในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการที่นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง

๕. หน่วยงานมีทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองสะดวกต่อการให้บริการ

๖. บุคลากรมีความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นที่ยอมรับจากผู้รับบริการ

๗. ผู้บริหารมีนโยบายให้บุคลากรทำงานแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม

๘. การกำหนดตำแหน่งความก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากรสายวิชาการมีความชัดเจน

๙. หน่วยงานมีจุดบริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ทำให้การรับตัวอย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น

๑๐. หน่วยงานมีความโปร่งใสด้านการเงิน/ด้านการบริหารพัสดุ

๑๑. ผลงานตามภารกิจของหน่วยงานเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

๑๒. ผลการทดสอบของหน่วยงานสามารถใช้รับรองสินค้าส่งออก และปรับปรุงคุณภาพสินค้า OTOP ในการเข้าสู่กระบวนการยื่นขอการรับรอง

๑๓. แผนยุทธศาสตร์ วศ.๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙) มีเป้าหมายที่จะยกระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้มีความเข้มแข็งในการตรวจสอบและรับรองตามมาตรฐานสากลฯ

๑๔. วศ.ได้รับมอบโล่และตรารับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก GECC (Government Easy Contact Center) ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการพ.ศ.๒๕๕๘ โดย อว.เป็นหนึ่งในบริการ GECC ของ วศ.

๑๕. บุคลากรมีจิตมุ่งบริการ (service mind)

๑๖. มีนักวิทยาศาสตร์ให้คำแนะนำเพื่อให้การบริการ ณ ศูนย์บริการ One stop service

๑๗. มีระบบเทคโนโลยีมีความทันสมัยที่ใช้กับสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Application และ website ให้ผู้รับบริการเข้าถึงข้อมูลการใช้บริการได้

๑๘. หน่วยงานมีการบริหารจัดการโดยใช้ระบบคุณภาพมาตรฐานสากล

๑๙. มีขั้นตอนในการบริหารจัดการและขั้รตอนการทำงานที่ชัดเจน

๒๐. รัฐบาลและกระทรวงวิทย์ฯ มีนโยบายให้หน่วยงานรัฐให้บริการแบบ One stop service

 


 

จุดอ่อน (Weakness : W)

 

๑. โครงสร้างองค์กรไม่สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

๒. การให้บริการด้านทดสอบยังไม่ครอบคลุมทุกรายการ

๓. โครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานยังไม่มีการจัดระบบอย่างมีประสิทธิภาพ

๔. หน่วยงานไม่มีกลไกในการผลักดันให้บุคลากรแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่

๕. การถ่ายทอดองค์ความรู้แฝง (Tacit knowledge) และประสบการณ์สู่บุคลากรรุ่นต่อไปไม่เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง

๖. บุคลากรส่วนใหญ่ขาดทักษะด้านภาษาต่างประเทศ การสื่อสารและการประสานงาน

๗. บุคลากรบางส่วนไม่ปรับตัวต่อสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

๘. การทำงานแบบบูรณาการและการทำงานเป็นทีมยังไม่มีประสิทธิภาพ

๙. การประเมินความดีความชอบของบุคลากรไม่สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

๑๐. การสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลไม่ทั่วถึงและไม่มีประสิทธิภาพ

๑๑. หน่วยงานไม่มีการกำหนดเกณฑ์การวัดปริมาณภาระงาน (Work load) ในแต่ละบุคคลที่ชัดเจน เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภา

๑๒. การบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ไม่มีประสิทธิภาพ

๑๓. ไม่มีกลไกในการเตรียมความพร้อมในการสร้างนักบริหาร

๑๔. การให้บริการของหน่วยงานยังมีความล่าช้า

๑๕. การดำเนินงานในกระบวนงานพัสดุล่าช้า

๑๖. ผลลัพธ์ (outcome) และผลผลิต (output) ของหน่วยงานยังไม่สนองตอบต่อความต้องการของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างทั่วถึง

๑๗. การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือวิทยาศาสตร์ในหน่วยงานยังไม่เต็มที่เท่าที่ควร

๑๘. การบริหารจัดการแผนบริหารความเสี่ยง และแผนความปลอดภัยยังไม่มีประสิทธิภาพ

๑๙. บุคลากรที่เข้าใหม่ยังมีทักษะและประสบการณ์ในการทำงานด้านวิชาชีพน้อย ต้องอาศัยระยะเวลาในการพัฒนา

๒๐. ความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กรมีน้อยทำให้บุคลากรโอนย้ายบ่อย ส่งผลให้การปฏิบัติงานไม่ต่อเนื่อง

๒๑ บุคลากรส่วนใหญ่ไม่แม่นยำเรื่องระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ งานพัสดุ ทำให้งานล่าช้า

๒๒. เนื่องจากห้องปฏิบัติการบางส่วนปิดปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคไปเป็นเวลานาน ทำให้เครื่องมือวิทยาศาสตร์เสื่อมสภาพแต่งบประมาณในการดูแลรักษาและซ่อมแซมเครื่องมือวิทยาศาสตร์มีน้อย

๒๓. ระบบการบริหารจัดการเครื่องมือ สารเคมีและเครื่องแก้วยังไม่มีประสิทธิภาพ

๒๔. บุคลากรบางส่วนยังไม่แม่นเรื่องระบบคุณภาพ ISO/IEC 17025

๒๕. วัสดุ อุปกรณ์ และสารเคมีบางอย่าง จัดซื้อไม่ทันกับความต้องการการใช้งาน

๒๖. การให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการมีการจำกัดเวลา ภายในเวลาราชการและสถานที่ราชการ

๒๗. ระบบสารสนเทศที่ให้บริการแก่ผู้รับบริการมีความซับซ้อนใช้งานยาก

 


 

โอกาส (Opportunity : O)

 

๑. ภาวะการแข่งขันของภาคการผลิตทำให้ผู้ประกอบการหันมาพึ่งพาองค์ความรู้มากขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและยกระดับคุณภาพสินค้า

๒. วิกฤติด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ ทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทเพิ่มขึ้น

๓. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นโอกาสในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพสามารถสนองตอบผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

๔. แนวนโยบายภาครัฐมีการส่งเสริมให้ท้องถิ่น/ชุมชนสามารถพัฒนาตนเองได้มากขึ้น ทำให้งานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทในการสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิต/เศรษฐกิจชุมชน

๕. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) มีนโยบายในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาสาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม และเพิ่มอันดับความสามารถในการแข่งขันโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ยุทธศาสตร์ที่ ๓: การสร้างความเข้มเข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และ

ยุทธศาสตร์ที่ ๘: การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม

๖. กฎหมายด้านความปลอดภัยอาหารมีผลกระทบต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมอาหาร ทำให้ผู้ประกอบการอาหารมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาสินค้าและคุณภาพอาหารให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก

๗. การที่กฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศมีเกณฑ์กำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นและต้องการเทคนิคทางด้านวิทยาศาสตร์ทำให้ผู้ประกอบการต้องใช้ผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการที่มีความสามารถ จึงเป็นโอกาสของหน่วยงานในการสร้างขีดความสามารถในเตรียมความพร้อมในการแข่งขัน

๘. การเป็นหน่วยงานที่ให้บริการทดสอบตามข้อกำหนดของมาตรฐานที่เกี่ยวข้องและ/หรือความต้องการของประเทศคู่ค้า โดยการเป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงพาณิชย์ให้ออกใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกตามความต้องการของประเทศคู่ค้า

๙. รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน และ SMEs ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น

๑๐. ในปี ๒๕๕๘ ประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งทำให้ประเทศต่างๆ มีการนำมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีมาใช้ ดังนั้นสินค้าต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพโดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล เป็นส่วนผลักดัน/เร่งรัดให้ภารกิจของหน่วยงานมีบทบาทมากขึ้น

๑๑. สินค้าไทย เช่น สินค้าทางการเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง ยา ต้องแข่งขันในด้านคุณภาพในเวทีการค้าโลก ทำให้มีความต้องการห้องปฏิบัติการในการทดสอบเพื่อไปปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อให้สินค้าได้มาตรฐาน

๑๒. การขยายตลาดสินค้าของวิสาหกิจชุมชน เป็นโอกาสให้หน่วยงานสามารถเข้าไปถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าให้กับชุมชนมากขึ้น

๑๓. การแข่งขันการค้าที่รุนแรงในเวทีการค้าโลก และมาตรการกีดกั้นทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ทำให้สินค้าส่งออกต้องได้รับการทดสอบคุณภาพ หรือการตัดสินทางวิทยาศาสตร์ เป็นผลให้ความต้องการทดสอบ คุณภาพผลิตภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้นและห้องปฏิบัติการของประเทศอีกมากที่ต้องยกระดับคุณภาพตามมาตรฐานสากล

๑๔. ภาคประชาชน ชุมชน มีความต้องการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจึงมีส่วนในการร่วมสนับสนุนงบประมาณดำเนินการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นโอกาสให้หน่วยงานได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยมากขึ้น

๑๕. การเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร ทำให้มีค่าธรรมเนียมในการให้บริการสมเหตุสมผล และผู้รับบริการยอมรับได้

๑๖. ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการใช้สินค้าที่มีความปลอดภัยและมีมาตรฐานเพิ่มขึ้น ทำให้สินค้าจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ

๑๗. แนวโน้มผู้บริโภค มีการเปลี่ยนแปลงของวิถีดำรงชีวิต มีความตระหนักด้านสุขภาพ ต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

๑๘. บริษัทเอกชนอื่น อาจมีบริการที่มีราคาสูงกว่า

๑๙. ผู้ใช้บริการมีความจำเป็นต้องใช้บริการที่ถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว เพื่อใช้ในการผลิต วิจัยพัฒนา และแก้ปัญหา เพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ

๒๐. การขยายตลาดของวิสาหกิจชุมชน/ SMEs / OTOP มีความจำเป็นต้องใช้บริการในการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้มาตรฐาน

๒๑. ลูกค้าต้องการให้สินค้าและผลิตภัณฑ์มีมาตรฐาน


 

ข้อจำกัด (Threat : T)

 

๑. เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการ การกำหนด/ปรับปรุง กฎ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

๒. ภัยจากอาชญากรรมด้านเทคโนโลยีอาจมีผลกระทบต่อระบบการป้องกันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้

๓. การวางแผน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เกิดการชะงักและไม่ต่อเนื่อง สาเหตุหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

๔. การจัดสรรทรัพยากรสำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ ไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและตอบการสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต

๕. หลักเกณฑ์วิธีการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สำนักงาน ก.พ. ออกตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ เพื่อให้ส่วนราชการนำไปปฏิบัติ บางส่วนยังไม่ชัดเจน

๖. เศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวมีผลกระทบต่อการลงทุนของประเทศ ทำให้ผู้ใช้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลดลง

๗. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทำให้เกิดคู่แข่งทางด้านการให้บริการที่สามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรี

๘. งบประมาณสนับสนุนการวิเคราะห์ทดสอบ และวิจัยพัฒนา ยังอยู่ในระดับต่ำ

๙. มีหน่วยงานเครือข่าย/สาขาในภูมิภาคแต่ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ ทำให้การบริการไม่สามารถเข้าถึงผู้รับบริการได้อย่างทั่วถึง และตอบสนองทุกความต้องการของผู้รับบริการได้

๑๐.ค่านิยมและเส้นทางความก้าวหน้าทางสายวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่ชัดเจนทำให้คนรุ่นใหม่สนใจประกอบวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์น้อยลง

๑๑.ชุมชนยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างกว้างขวางเท่าที่ควรทำให้ค่านิยมและความเชื่อถือในเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังอยู่ในระดับต่ำ

๑๒.ภาคประชาชน ชุมชน ยังไม่เชื่อถือการทำงานของหน่วยงานราชการว่าจะมีความต่อเนื่องและจริงใจในการแก้ปัญหา

๑๓.บทบาทของหน่วยงานด้านการบริการทดสอบลดลงเนื่องจากมีงานบริการทดสอบที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น

๑๔. มีกฎหมายและระเบียบราชการด้านการให้บริการประชาชน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการให้บริการและเกิดข้อร้องเรียน หากไม่ปฏิบัติตาม

๑๕. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศที่รวดเร็ว ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนให้เท่าทันซึ่งต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง และบุคลากรที่มีความสามารถ

๑๖. หน่วยงานอื่นมีการพัฒนาการให้บริการที่หลากหลาย และได้รับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตาม ISO/IEC 17025ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการรับบริการมากขึ้น

๑๗. คนไทยนิยมการขอรับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ตามกระแสสังคม

๑๘. ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการภาครัฐน้อยลง

๑๙. การให้บริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีราคาสูงมาก

๒๐. เศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาวะชะลอตัว ทำให้เกิดผลกระทบต่อการลงทุนของประเทศลดลง ทำให้เอกชนขาดแรงจูงใจในการลงทุน

 

ปรับจากRef. ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการแผนกลยุทธ์ วศ. ได้ดำเนินการจัดประชุมระดมความคิดเห็นเมื่อวันที่ ๑๐,๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๗ วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ และวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๗ ได้สรุป SWOT ภาพรวมของกรมวิทยาศาสตร์บริการ