KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

เลขที่ วศ.ชป.๐๗/๒๕๖๑

 

ชื่อชุมชนนักปฏิบัติ  ALL FOR ONE – ONE FOR ALL

สำนัก/กอง   ความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์     หมายเลข CoPs    ……………………………..

ชื่อเรื่องที่ดำเนินการ       Money Transfer เอ้อเหอ ง่ายจัง

รายชื่อและบทบาทหน้าที่ของสมาชิก

๑. นางวรรณี

อู่ไพบูรณ์

หัวหน้ากลุ่ม

 

 

๒. นางเยาวลักษณ์

ชินชูศักดิ์

 

๑๐. นางสาวกิ่งแก้ว

เชื้อบุญมา

๓. นางสาวจิราวรรณ

หาญวัฒนกุล

 

๑๑. นางสาวธันยรัตน์

ภิญโญ

๔. นางสาวสุกัลยา

พลเดช

 

๑๒. นางสาวจุฑารัตน์

ไตรสูงเนิน

๕. นางสาวสุประวีณ์ 

วงศ์สุโชโต

 

๑๓. นางสาวพรยุพิน

จิตจักร์

๖. นางสาวกฤชพร

คุณรักษา

 

๑๔. นางสาวศาสตราพร

เกษมวิชญ์

๗. นางสาวจีระภา

สงรักษา

 

๑๕. นายณัฐวุฒิ

โรมศรี

๘. นางสาวรติรส

ศรีสกุล

 

๑๖.นางสาวปิยาภรณ์

อินทญาติ

๙. นางสาวประพิมพรรณ

จิตเที่ยง

 

๑๗. นางสาวกมลชนก

ตาละซอน

จำนวน   ๑๗  คน

 

ผู้ประสานงานชื่อ   นางสาวจิราวรรณ     นามสกุล   หาญวัฒนกุล

โทรศัพท์ติดต่อ       ๐๒-๒๐๑-๗๑๑๓      อีเมล       This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ปัญหาและที่มาของ CoPs

    เนื่องด้วยการดำเนินงานของ ชน. จะปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043 จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามระบบคุณภาพ และรักษาสถานภาพการเป็นสมาชิกจากหน่วยงานที่ตรวจประเมิน โดย ชน. ได้ขอการรับรองจากหน่วยงาน TAF (Taiwan Accreditation Foundation) ประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นหน่วยงานต่างประเทศ เป็นผลทำให้ขั้นตอนการจ้างตรวจประเมินและการเสียค่าธรรมเนียมสมาชิกรายปีมีความยุ่งยาก จำเป็นต้องทำการจ้างด้วยวิธีพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ (แก้ไขจากฉบับเดิม พ.ศ. ๒๕๓๕) สำหรับการโอนเงินต่างประเทศ กำหนดให้จ่ายหรือโอนเงินด้วยวิธีดราฟต์

    จากประเด็นการโอนเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีดราฟต์ พบว่า เป็นวิธีที่ล้าสมัย เกิดความล่าช้า มีโอกาสสูญหายได้ง่าย โดยเฉพาะกรณีที่ผู้รับไม่เข้าใจในการใช้ดราฟต์และไม่ไปขึ้นเงิน ปัญหาเหล่านี้ ชน. ได้เล็งเห็นและนำมาวิเคราะห์ และปรับปรุงให้เข้ากับการทำงานด้านพัสดุ ๔.๐ จึงมีแนวคิดที่จะชำระหรือโอนเงินในรูปแบบ Money transfer ด้วยวิธี Swift code เนื่องจาก มีความสะดวก รวดเร็ว สามารถติดตามสถานะได้ ลดการสูญหาย และในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานได้กำหนดให้ใช้รูปแบบนี้ เป็นผลทำให้ ชน.ทำการศึกษาและเรียนรู้ระเบียบราชการต่างๆ เพื่อให้สามารถชำระเงินได้โดยไม่ผิดระเบียบฯ ที่กำหนดไว้ ซึ่งพบว่าสามารถทำได้โดยการขออนุมัติจากกรมบัญชีกลางเป็นรายปี

 

วัตถุประสงค์

    ๑.ผู้ปฏิบัติงานมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องการโอนเงินไปต่างประเทศให้เป็นไปตามระเบียบราชการ

    ๒.เสริมสร้างพัฒนาความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานและสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ๓.มีการแบ่งปันความรู้และสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ได้

 

แผนการดำเนินงาน

ลำดับ

กิจกรรมการจัดการความรู้

ระยะเวลา

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้รับผิดชอบ

 การบ่งชี้ความรู้

มีการประชุม เพื่อระดมความคิดเห็น

- ตั้งประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเรื่องการโอนเงินต่างประเทศ

- ขั้นตอนการดำเนินงาน

๑ เดือน

ต.ค.๖๐

 

 

-บุคลากร

ชน.๑, ๒

 

หัวหน้ากลุ่ม

และคณะทำงาน KM

 การสร้างและแสวงหาความรู้

- ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบฯ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐

- Money transfer ด้วยวิธี SWIFT CODE

๒ เดือน

พ.ย. - ธ.ค.๖๐

-บุคลากร

ชน.๑, ๒

 

หัวหน้ากลุ่ม

และคณะทำงาน KM

 การเรียนรู้ผ่าน Story Telling

- การเล่าถึงขั้นตอนการขออนุญาตโอนเงินด้วยวิธีพิเศษ

- การเล่าประสบการณ์แลกเปลี่ยนความรู้จากผู้ที่เคยใช้ Money transfer ด้วยวิธี SWIFT CODE

๒ เดือน

ม.ค. - ก.พ.๖๑

-บุคลากร

ชน.๑, ๒

หัวหน้ากลุ่ม

และคณะทำงาน KM

 การเรียนรู้จากตัวอย่างจริง

- ขั้นตอนการดำเนินการจัดจ้างตรวจประเมินระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043:2010/ จ่ายค่าสมาชิกจากผู้ตรวจประเมินต่างประเทศ (TAF)

๓ เดือน

มี.ค. - พ.ค.๖๑

 

-บุคลากร

ชน.๑, ๒

 

หัวหน้ากลุ่ม

และคณะทำงาน KM

 การเรียนรู้

- บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบในการโอนเงินให้กับต่างประเทศ การโอนเงินผ่านระบบ SWIFT CODE และสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

๔ เดือน

มิ.ย. - ก.ย.๖๑

 

-บุคลากร

ชน.๑, ๒

 

หัวหน้ากลุ่ม

และคณะทำงาน KM

 

รายละเอียดกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ
(ผลการดำเนินงาน วัน/เวลา/สถานที่/ผู้เข้าร่วมกิจกรรม/ความรู้ที่ได้รับ/ภาพกิจกรรม)
จากการดำเนินการกิจกรรมการจัดการความรู้ ผลการดำเนินงานมีรายละเอียดของกิจกรรม ดังนี้

 

๑.การบ่งชี้ความรู้ (ต.ค. ๖๐)

    มีการประชุม เพื่อระดมความคิดเห็นจากปัญหาที่พบในขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมสมาชิกและการจ่ายเงินค่าตรวจประเมินจากหน่วยงานต่างประเทศ คือ

    ๑.   ต้องมีการขออนุญาตดำเนินการโอนเงินให้กับหน่วยงานต่างประเทศด้วยวิธีพิเศษ

    ๒.   วิธีการโอนเงินแบบปกติกำหนดให้ใช้ดราฟต์ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการที่ยุ่งยาก มีโอกาสสูญหายได้ง่าย ปัจจุบันจึงไม่เป็นที่นิยม

    ๓.   ผู้ที่ทราบถึงขั้นตอนและกระบวนการโอนเงินให้กับต่างประเทศมีจำนวนน้อย เนื่องจากมีการดำเนินการปีละครั้ง จึงทำให้การทำงานไม่คล่อง เสียเวลา และจดจำขั้นตอนและกระบวนการไม่ได้

    ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ศึกษากฎระเบียบการจ่ายเงินของทางราชการและขออนุญาตจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
  2. ศึกษาขั้นตอนการโอนเงินด้วยวิธีพิเศษ
  3. จัดทำขั้นตอนการดำเนินงานเป็นเอกสารเพื่อใช้เป็นคู่มือการดำเนินการจ่ายเงินและเพื่อเผยแพร่ความรู้และบันทึกลงใน website KM

        

๒.การสร้างและแสวงหาความรู้ (พ.ย. - ธ.ค. ๖๐)

     ๒.๑ ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ในเรื่องการโอนเงินต่างประเทศ

    กระบวนการซื้อหรือจ้าง

    การจัดทําร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของการพัสดุ

    ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ๑ คณะ หรือจะให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งรับผิดชอบในการจัดทําร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของการพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอด้วย

    รายงานขอซื้อหรือขอจ้าง

    ให้เจ้าหน้าที่จัดทํารายงานขอซื้อหรือขอจ้างเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐเพื่อขอความเห็นชอบ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่ ตามรายการดังต่อไปนี้

        (๑)  เหตุผลและความจําเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง

        (๒)  ขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง

        (๓) ราคากลางของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง

        (๔) วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ

        (๕) กําหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้นหรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ

        (๖) วิธีที่จะซื้อหรือจ้างและเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น

        (๗) หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอ

        (๘) ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จําเป็นในการซื้อหรือจ้าง

    คณะกรรมการซื้อหรือจ้าง

    ในการดําเนินการซื้อหรือจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐแต่งตั้งคณะกรรมการซื้อหรือจ้างขึ้น พร้อมกับกําหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ ซึ่งแต่ละคณะประกอบด้วย ประธานกรรมการ ๑ คน และกรรมการอย่างน้อย ๒ คน ซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ ลูกจ้างประจํา พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานของรัฐ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยให้คํานึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสําคัญ

    วิธีการซื้อหรือจ้าง สามารถทำได้ ๓ วิธี ดังนี้

        (๑)  วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป เช่น วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ และวิธีสอบราคา

        (๒)  วิธีคัดเลือก โดยจัดทําหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการให้เข้ายื่นข้อเสนอ เมื่อถึงกําหนดให้รับซองข้อเสนอ คณะกรรมการดําเนินการเปิดซองข้อเสนอ และตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ยื่นข้อเสนอทุกราย แล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกํากับไว้ในเอกสารประกอบการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอทุกแผ่น และดําเนินการพิจารณาคัดเลือกผู้ชนะการซื้อหรือจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกของคณะกรรมการ

        (๓)  วิธีเฉพาะเจาะจง ให้คณะกรรมการจัดทําหนังสือเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอหรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา และจัดทํารายงานผลการพิจารณา

    การจ่ายเงินตามแบบธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ โดยเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต หรือโดยวิธีใช้ดราฟต์กรณีที่วงเงินไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท หรือการจ่ายเงินตามความก้าวหน้าในการสั่งซื้อพัสดุ ให้กระทําได้โดยไม่ถือว่าเป็นการจ่ายเงินล่วงหน้า

    ๒.๒ ข้อมูลเกี่ยวกับ SWIFT CODE

    การโอนเงินระหว่างประเทศนั้นสามารถทำได้หลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้โอน และขึ้นอยู่กับจำนวนเงิน เช่น bank transfer/ paypal/ draft/ western unionเป็นต้น แต่มีอีกวิธีที่น่าสนใจคือ Wire transfer คือการโอนเงินไปต่างประเทศโดยใช้ SWIFT CODE ซึ่งมีรายละเอียดข้อมูลที่ต้องใช้ในการโอนเงินดังนี้

    -   ชื่อบัญชี เลขที่บัญชี และที่อยู่ของผู้รับเงินในต่างประเทศ

    -   ชื่อและที่อยู่ของธนาคารซึ่งผู้รับเงินมีบัญชีอยู่

    -   SWIFT Address ของธนาคารซึ่งผู้รับเงินมีบัญชีอยู่ ซึ่งรหัสจะแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร

    -   เอกสารประกอบ

สำหรับคนไทย - เอกสารแสดงวัตถุประสงค์ของการโอนเงิน

สำหรับคนต่างชาติ - เอกสารแสดงที่มาของรายได้

 

๓. การเรียนรู้ผ่าน Story Telling (ม.ค. - ก.พ. ๖๑)

    การเล่าประสบการณ์แลกเปลี่ยนความรู้จากผู้ที่เคยโอนเงินให้กับต่างประเทศผ่านระบบ SWIFT CODEซึ่งหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องที่จำเป็นต้องทำเรื่องขออนุญาตจากกรมบัญชีกลาง คือ

    -   กลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (ชน.) เรื่องการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมและค่าสมาชิกจาก TAF

    -   สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการ (บร.) เรื่องการจ่ายค่าธรรมเนียม

    -   กลุ่มสอบเทียบเครื่องมือ (สค.) และกองผลิตภัณฑ์อาหารและวัสดุสัมผัสอาหาร (อว.) เรื่องการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการกับต่างประเทศ และ Asia Pacific Metrology Programme (APMP)

 

      

 

 

 

รูปที่ ๑ การบอกเล่าประสบการณ์ผ่าน Story Telling

 

๔. การเรียนรู้จากตัวอย่างจริง (มี.ค. - พ.ค. ๖๑)

    ขั้นตอนการดำเนินการจัดจ้างตรวจประเมินระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 17043: 2010/ จ่ายค่าสมาชิกให้ผู้ตรวจประเมินต่างประเทศ (TAF)

ขั้นตอนการดำเนินการ

หน่วยงานภายใน วศ.

หน่วยงานภายนอก วศ.

ชน.

พด.

งป.

TAF

ธนาคาร

 1. ขอใบเสนอราคาจัดจ้างตรวจประเมินจาก TAF

/

 

 

 

 

 2. ออกใบเสนอราคาการจัดจ้างตรวจประเมิน/ จ่ายค่า สมาชิก

 

 

 

/

 

 3. จัดทำบันทึกขออนุมัติค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างและแต่งตั้งคณะกรรมการจัดจ้างและตรวจรับโดยวิธีพิเศษ/ จ่ายค่าสมาชิก

 

/

 

 

 

 4. ดำเนินการจัดทำเอกสารจัดจ้าง/ จ่ายค่าสมาชิก และสัญญายืมเงิน

/

 

 

 

 

 5. จัดทำบันทึกขออนุมัติจัดจ้างการตรวจประเมินโดยวิธีพิเศษ/ จ่ายค่าสมาชิก

 

/

 

 

 

 6. นำเอกสารใบสั่งจ้างสลักหลังตราสาร

/

 

 

 

 

 7. TAFออกใบแจ้งหนี้

 

 

 

/

 

 8. กรรมการตรวจรับ

/

 

 

 

 

 9. ชำระเงินค่าจ้างตรวจประเมินผ่านธนาคาร โดยวิธี SWIFT CODE

 

 

 

 

/

 10. จัดทำรายงานตรวจรับการจัดจ้างการตรวจติดตามฯ โดยวิธีพิเศษ

 

/

 

 

 

 11. จัดทำเอกสารส่งเบิก (แบบเบิกเงินสด, BGT)

 

 

/

 

 

 

๕. การเรียนรู้ (มิ.ย. - ก.ย. ๖๑)

    บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบในการโอนเงินให้กับต่างประเทศ การโอนเงินผ่านระบบ SWIFT CODE และสามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

 

องค์ความรู้ที่ได้
    ๑.   ทราบถึงกฎระเบียบของราชการในการชำระเงินให้หน่วยงานต่างประเทศ

    ๒.   ได้เรียนรู้ขั้นตอน

กระบวนการการชำระเงิน
    ๓.   สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจและสามารถนำไปใช้งานได้จริง

 

การนำไปใช้ประโยชน์
    ๑.   เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการโอนเงินให้กับหน่วยงานต่างประเทศ
    ๒.   สามารถพัฒนาองค์ความรู้ในการชำระเงินได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบมากขึ้น
    ๓.   เป็นการสร้างนวัตกรรมในการชำระเงินให้สอดคล้องกับยุค Thailand ๔.๐

    ๔.   สามารถเผยแพร่ความรู้การชำระเงินให้หน่วยงานต่างประเทศ และหน่วยงานอื่นที่มีการติดต่อนำไปใช้ได้จริง

  ๕.   สามารถปรับตัวให้รู้เท่าทันระเบียบการพัสดุ ๔.๐