KM กรมวิทยาศาสตร์บริการ

Glossary of terms used on this site

There are 13 entries in this glossary.
Search for glossary terms (regular expression allowed)
Begin with Contains Exact termSounds like
All A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z
Term Definition
Coaching

การสอนงาน คือ การที่คนๆหนึ่ง ช่วยให้ใครก็ตามพัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน การสอนงานไม่ได้หมายถึงสาระของการสอนหรือบอกถึงวิธีการทำงานเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การให้กำลังใจ และให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น

Community of Practice

กลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่งคลังความรู้ในเรื่องนั้นๆ และให้คนในกลุ่ม/ชุมชนนักปฏิบัตินำไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้นถูกยกระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์ และปรับใช้ตามสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย

Continuous Development Program

กิจกรรมพัฒนาบุคลากรแบบต่อเนื่อง คือ การที่บุคลากรสำนัก/โครงการ ไปเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา กับหน่วยงานภายนอกและไปกลับมาถ่ายทอดความรู้ที่เข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนาแก่บุคลากรในสำนัก/โครงการ โดยจัดเป็นกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่เพื่อนร่วมงานได้ทราบความก้าวหน้าในวิชาชีพนั้นๆ 

Knowledge Management
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 
Learning Organization

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน

ประชุม

คือ การที่บุคคลหลายฝ่าย ซึ่งอาจมาร่วมประชุมในสถานะของตนเองหรือเป็นผู้แทนของกลุ่มบุคคลหรือองค์กรใด ๆ มาร่วมกิจกรรมในการให้ข้อมูล รับข้อมูล หรือแลกเปลี่ยนข้อมูล ในเรื่องที่กำหนดขึ้นและหัวข้อเรื่องมีความเกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมประชุม โดยกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย สถานที่ วัน เวลา และระเบียบวาระสำหรับการประชุมนั้นไว้อย่างชัดเจน

ประชุมวิชาการ

คือ การประชุมของนักวิชาการ หรือ นักวิชาชีพเป็นจำนวนมากอย่างเป็นทางการ เพื่อนำเสนอผลงานหรือผลการค้นคว้า วิจัย โดยการปาฐกถา (speeches) ปฏิบัติการ (Workshops) หรือด้วยวิธีการอื่น

ประชุมเชิงปฏิบัติการ

คือ การประชุมร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นระยะเวลานานหลายวัน โดยเน้นการร่วมกันทำงานเพื่อฝึกการแก้ปัญหาโดยผู้เข้าประชุมทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติ (hands-on training) ด้วย

ฝึกอบรม

คือ การจัดกระบวนการหรือกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เพิ่มพูนความรู้ (Knowledge) ทักษะ ความชำนาญ (Skill) และเจตคติ (Attitude) ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานของตนเองและองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

สัมมนา

คือ การชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลของการสัมมนาถือว่า เป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะนำไปปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้

สัมมนาวิชาการ

คือ การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องวิชาการที่สนใจร่วมกัน และนำเอาประสบการณ์มาเล่าสู่ที่ประชุมฟัง เพื่อหาลักษณะที่ดีที่สุด เพื่อเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันต่อไป

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ

คือ การฝึกอบรม ที่จัดให้มีการบรรยายของวิทยากรบนเวที และมีการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา เพื่อการระดมสมองในหัวข้อที่กำหนด และนำเสนอผลงาน โดยวิทยากรจะให้คำแนะนำ

เสวนา

คือ การพูดคุย การแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน